ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกลในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี
ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก
ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16ในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง
ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
การเมือง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีรัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)
การแบ่งเขตการปกครอง
- ดูบทความหลักที่ หน่วยการบริหารของประเทศฝรั่งเศส
- 22 แคว้น (regions - régions) ได้แก่
|
|
โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด
นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่
- 5 จังหวัดโพ้นทะเล (Départements d'outre-mers: DOM) ได้แก่ กวาเดอลูป (Guadeloupe) เฟรนช์เกียนา (French Guiana) มาร์ตินีก (Martinique) เรอูนียง (Réunion) และ มายอต (Mayotte) ทั้งห้าดินแดนมีฐานะเดียวกับแคว้นในฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป (อย่างเดียวกับฮาวายที่มีฐานะเท่าเทียมกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา) กล่าวคือ เป็นทั้งแคว้นและจังหวัดในเวลาเดียวกัน
- 4 อาณานิคมโพ้นทะเล (Collectivités d'outre-mer) ได้แก่ แซงปีแยร์และมีเกอลง (Saint Pierre and Miquelon) วาลลิสและฟุตูนา (Wallis and Futuna) แซ็งบาร์เตเลอมี (Saint Barthélemy) และแซ็งมาร์แต็ง (Saint Martin)
- 1 ประเทศโพ้นทะเล (Pays d'outre-mer: POM) ดินแดนแห่งเดียวของฝรั่งเศสที่ได้รับการเรียกชื่อนี้คือ เฟรนช์โปลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งเคยเป็นดินแดนโพ้นทะเล (TOM) มาก่อน แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยแบ่งออกเป็น 5 เขตบริหารย่อย
- 1 อาณานิคมพิเศษ (Collectivité sui generis) คือ นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) เคยมีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลมาจนถึงปี พ.ศ. 2542 จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ แบ่งออกเป็น 3 จังหวัด (provinces) ได้แก่ จังหวัดนอร์ ซูด และอีลลัวโยเต
- 1 ดินแดนโพ้นทะเล (Territoires d'outre-mer: TOM) คือ เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (French Southern and Antarctic Lands) โดยแบ่งออกเป็น 4 เขต (districts) ได้แก่ หมู่เกาะแกร์เกแลน (Kerguelen Islands) หมู่เกาะครอเซ (Crozet Islands) เกาะอัมสเตอร์ดัมและเกาะแซ็ง-ปอล (Amsterdam Island and Saint Paul Island) และอาเดลีแลนด์ (Adelie Land)
- ดินแดน 5 เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไม่มีผู้อาศัยอยู่อย่างถาวร รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกระจายหรืออีลเซปาร์ส (Îles Éparses) ได้แก่ บัสซาสดาอินเดีย (Bassas da India) ยูโรปา (Europa) ฮวนเดโนวา (Juan de Nova) โกลรีโอโซ (Glorioso) และตรอมแล็ง (Tromelin) ทั้งหมดถูกปกครองโดยจังหวัดโพ้นทะเลเรอูนียง
- เกาะที่ไม่มีผู้อาศัย 1 แห่ง คือ เกาะคลิปเพอร์ตัน (Clipperton) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก ปกครองโดยข้าหลวงใหญ่สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำท้องถิ่นโพ้นทะเลเฟรนช์โปลินีเซีย
เมื่อดูจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา รวมไปถึงภาคธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า)
ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบดุลการค้าถึง 6.6 พันล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 70 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในโซนยูโร)
ในด้านการลงทุน ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้ามาก เสถียรภาพของค่าเงิน และการควบคุมต้นทุนการผลิต
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (PIB) ปี พ.ศ. 2547 มีมูลค่า 1,648.4 พันล้านยูโร
- อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปี พ.ศ. 2549 คิดเป็นร้อยละ 2
- รายได้เฉลี่ยต่อหัว 30,100 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2549)
- อัตราเงินเฟ้อคิดเป็นร้อยละ 2.0 (ปี พ.ศ. 2549)
- ดุลการค้าขาดดุลมีมูลค่า 6.6 พันล้านยูโร (พ.ศ. 2547)
เกษตรกรรม
ประเทศฝรั่งเศสมีจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรกว่า 590,000 แห่ง มีประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 1,189,000 คน และมีพื้นที่เพาะปลูก 27,668,000 เฮกตาร์หรือเท่ากับร้อยละ 50.7 ของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ โดยมีผลิตผลทางการเกษตรหลักดังนี้- ธัญพืช 69.7 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 37.6 ล้านตันเป็นข้าวสาลีและ 16.4 ล้านตันเป็นเมล็ดข้าวโพด ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปและเป็นอันดับ 5 ของโลก
- ไวน์ 48 ล้านเฮกโตลิตร อันดับ 2 ของโลกและในสหภาพยุโรปรองจากประเทศอิตาลี
- นม 22.2 ล้านลิตร อันดับ 2 ของสหภาพยุโรปรองจากประเทศเยอรมนีและเป็นอันดับ 5 ของโลก
- หัวผักกาดหวาน 29.4 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของสหภาพยุโรปและอันดับ 2 ของโลก
- เมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน 6 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของสหภาพยุโรป
- โค จำนวน 19.2 ล้านตัว / เนื้อโค ปริมาณผลิต 1.8 ล้านตัน
- สุกร จำนวน 15.2 ล้านตัว / เนื้อสุกร ปริมาณผลิต 2.3 ล้านตัน
- แกะ จำนวน 8.9 ล้านตัว, แพะ จำนวน 1.2 ล้านตัว / เนื้อแพะและแกะ ปริมาณผลิต 1.3 ล้านตัน
- เนื้อสัตว์ปีก ปริมาณผลิต 2.1 ล้านตัน
การค้าต่างประเทศ
ในอดีตประเทศฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของประเทศฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง ประเทศฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และการส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องบินแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมดแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต คาดว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี พ.ศ. 2541 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาและสงครามในอิรัก[2] การท่องเที่ยว
จำนวน 81.9 ล้านคนนี้ ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อาศัยในประเทศฝรั่งเศสน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ชาวยุโรปทางตอนเหนือที่เดินทางผ่านประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปประเทศสเปนหรืออิตาลีในฤดูร้อน ประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ท่องเที่ยวในทุก ๆ บรรยากาศไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยทะเล หาดทราย ป่า แม่น้ำ ภูเขา บ้านพักตากอากาศ ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีดังนี้[3] หอไอเฟล (6.2 ล้าน), พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (5.7 ล้าน) , พระราชวังแวร์ซายส์ (2.8 ล้าน) , พิพิธภัณฑ์ออร์เซ (2.1 ล้าน) , ประตูชัยฝรั่งเศส (1.2 ล้าน) , ซองตร์ ปอมปิดู (1.2 ล้าน) , มง-แซ็ง-มีแชล (1 ล้าน) , พระราชวังช็องบอร์ (711,000) , วิหารแซ็งต์-ชาแปล (683,000) , ชาโต ดู โอต์-โคนิคบูร์ก (549,000) , ปุย เดอ โดม (5 แสน) , พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (441,000) และการ์กาซอน (362,000)
ประเทศฝรั่งเศสมีโรงแรมกว่า 18,217 แห่ง สถานที่ตั้งแคมป์ 8,289 แห่ง หมู่บ้านตากอากาศ 1001 แห่ง บ้านพักเยาวชน 188 แห่ง ที่พักราคาย่อมเยาในต่างจังหวัด 63,158 แห่ง ห้องพักพร้อมอาหารเช้าตามบ้านคนท้องถิ่น 31,013 ห้อง โดยประเทศฝรั่งเศสมีรายได้จากการท่องเที่ยว 32.8 พันล้านยูโร นับเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและอิตาลี และมีดุลการท่องเที่ยวเกินดุลกว่า 9.8 พันล้านยูโร
ประชากร
- ประชากรของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประมาณ 64.5 ล้านคน โดยเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากได้แก่ ปารีส มาร์แซย์ ลียง ลีล ตูลูซ นิส และน็องต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น