สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่ม "ซิสเตอร์อินอิสลาม" (เอสไอเอส) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เรียกร้องสิทธิสตรีมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ได้ออกมาแสดงความเห็นด้วยกับรัฐบาลมาเลเซีย ที่อนุญาตให้สตรีสามารถทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาได้ ในศาล "ชาเรีย" หรือศาลสำหรับชาวมุสลิม โดยผู้แทนทางกฏหมายของกลุ่มเอสไอเอส กล่าวว่า ผู้พิพากษาที่เป็นชายมักไม่มีความรู้สึกร่วมต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการพิพากษา และจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่เป็นเรื่องความคับข้องใจของผู้หญิง หลังจากที่ได้ทำการเรียกร้องในประเด็นนี้มาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1990 เพื่อให้มีการปฏิรูประบบกฏหมายอิสลาม โดยกล่าวว่าถึงแม้จะมีระบบป้องกันทางกฏหมายสำหรับสตรีแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รับการดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความยุติธรรมเพียงพอ และแม้ว่าจะมีการแต่งตั้งเพียงสองตำแหน่งที่เมืองปุตราจายา และกรุงกัวลาลัมเปอร์ก็ตาม และอาจไม่สามารถตัดสินคดีได้ทั้งหมด แต่นี่ก็ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการยุติธรรมในประเทศมาเลเซีย
โดยปกติแล้วมาเลเซียจะมีระบบศาลอยู่สองประเภทคือ ศาลสำหรับประชาชนที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม และศาลสำหรับชาวมุสลิม ซึ่งในศาลปกตินั้น มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาสตรีมาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อตัดสินคดีทั่วไป ในขณะที่ศาลของชาวมุสลิม จะตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายครอบครัว โดยจะครอบคลุมคดีความที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น การหย่าร้าง การมีภรรยาหรือสามีหลายคน สิทธิในการดูแลเด็ก เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น