จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 (ฝรั่งเศส: Napoléon III de France)
หรือเป็นที่รู้จักกันในพระนาม หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต
ประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสในพระนาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 โดยการก่อรัฐประหาร พระองค์ยังถือว่าเป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิฝรั่งเศสอีกด้วย
- ประวัติ -
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน ประสูติ ณ กรุงปารีส เป็นโอรสพระองค์ที่ 3 ของหลุยส์ โบนาปาร์ต พระอนุชาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์ พระราชธิดาใน พระนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ (จากการสมรสครั้งแรก) พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระบิดา - มารดาของพระองค์ได้รับตำแหน่งให้เป็นกษัตริย์และพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นของจักรวรรดิฝรั่งเศส แต่ภายหลังจากการพ่ายแพ้และลงจากตำแหน่งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 และการกลับมาของราชวงศ์บูร์บงในประเทศฝรั่งเศส สมาชิกราชวงศ์โบนาปาร์ตได้ถูกเนรเทศออกจากประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้หลุยส์-นโปเลียน ผู้เยาว์วัยได้เติบโตขึ้นมาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (อาศัยกับพระมารดาในมลรัฐเล็กๆ ชื่อว่า Thurgau) และในประเทศเยอรมนี (ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย เมืองออกซ์บูร์ก บาวาเรีย) ในฐานะหนุ่มวัยเยาว์เขาได้อาศัยในประเทศอิตาลี ในที่ๆ พระเชษฐา นโปเลียน หลุยส์ ได้สนับสนุนการปกครองแบบเสรีนิยมและมีส่วนร่วมกับคาร์โบนารี องค์กรต่อต้านอิทธิพลของออสเตรียในดินแดนตอนเหนือของประเทศอิตาลี ซึ่งต่อมาจะมีอิทธิพลต่อการปกครองของพระองค์ในนโยบายการต่างประเทศ
ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสยังปกครองด้วยราชวงศ์บูร์บง ต่อมาราชวงศ์ออร์เลอง และยังมีขบวนการสนับสนุนราชวงศ์โบนาปาร์ต (โบนาปาร์ตนิยม) อยู่อีกด้วย ตามกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่ได้ประกาศในสมัยรัชสมัยของพระองค์ ผู้ซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังก์อันดับแรกคือพระราชโอรสของพระองค์ ดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ หรือเป็นที่รู้จักในพวกโบนาปาร์ตนิยมว่า "นโปเลียนที่ 2" ซึ่งเป็นหนุ่มขี้โรคที่ถูกจำคุกอยู่ในศาลแห่งเวียนนา ลำดับต่อมาคือ พระเชษฐาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระนามว่า "โฌเซฟ โบนาปาร์ต" ต่อมาคือ หลุยส์ โบนาปาร์ตและโอรสทั้งหลาย (พระเชษฐาของหลุยส์ โบนาปาร์ต ลูเซียง โบนาปาร์ตและทายาทได้ถูกข้ามในรายพระนามผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์เนื่องจากพระองค์ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่พอใจในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์เอง) เมื่อโฌเซฟ โบนาปาร์ตไม่มีโอรส และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2374 และการสิ้นพระชนม์ของดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ ทำให้หลุยส์-นโปเลียนกลายมาเป็นองค์รัชทายาทในการสืบบัลลังก์ ซึ่งพระปิตุลาและพระบิดาของพระองค์ก็ได้มีพระชนม์มากแล้ว ซึ่งก็ปล่อยภาระให้มาอยู่ในพระกรของพระองค์
พระองค์ได้แอบกลับสู่ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2379 และเป็นครั้งแรกในพระชนมชีพที่ได้เป็นผู้นำในการรัฐประหาร พร้อมด้วยพวกโบนาปาร์ตนิยมที่เมืองสตราสบูร์ก ทางด้านพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ก็ได้สถาปนาราชวงศ์แห่งเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2373 และเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทั้งผู้สนับสนุนกษัตริย์พระองค์ที่สืบพระราชสันตติวงศ์มาโดยถูกต้อง พวกสาธารณรัฐนิยมและโบนาปาร์ตนิยม ถึงกระนั้นการรัฐประหารได้ประสบความล้มเหลว และถูกเนรเทศไปยังโลเรียงต์ และต่อมาที่สหรัฐอเมริกา และได้พำนักอยู่ที่นิวยอร์กเป็นเวลา 4 ปี และอีกครั้งหนึ่งที่เขาลักลอบกลับมาและพยายามอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2383 โดยล่องเรือมากับทหารจ้างจำนวนหนึ่งสู่บูโลญ แต่ทว่าในครั้งนี้ พระองค์ถูกจับได้และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังอยู่ในความช่วยเหลือของพระประยูรญาติที่เมืองออง (Ham) เขตการปกครองซอมม์ ขณะที่เขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง สายพระเนตรของพระองค์ได้แย่ลง แต่พระองค์ก็ยังประพันธ์เรียงความร้อยแก้วและหนังสือที่เกี่ยวกับการอ้างสิทธิในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์และการปฏิรูปการปกครอง รวมทั้งข้อเสนอเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบผสมสังคมนิยมอีกด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้ความหมายว่าเป็น ลัทธินิยมโบนาปาร์ต ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 พระปิตุลาของพระองค์ โฌเซฟ โบนาปาร์ตได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้พระองค์อยู่ในสายการสืบสันตติวงศ์ในการขึ้นครองราชย์ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาพระองค์ก็ได้หลบหนีไปยังเมืองเซาธ์พอร์ท ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2389 โดยการเปลี่ยนฉลองพระองค์กับช่างก่ออิฐคนหนึ่ง (ซึ่งต่อมาศัตรูของพระองค์ได้เยาะเย้ยพระองค์โดยการตั้งชื่อเล่นให้พระองค์ว่า "บาแดงเกต์ (Badinguet) " ซึ่งเป็นชื่อของช่างก่ออิฐที่พระองค์สลับฉลองพระองค์ด้วย) หนึ่งเดือนต่อมาพระบิดาของพระองค์ หลุยส์ ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนเป็นรัชทายาทในราชสกุลโบนาปาร์ตอย่างปฏิเสธไม่ได้
- ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส -
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 ที่ประเทศฝรั่งเศส และมีการปลดพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ก็สามารถนิวัติกลับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์ก็ได้กระทำเช่นนั้น พระองค์ได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391 และพระองค์ก็ได้เป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก ทั้งถูกมองว่าเป็นนักปราศรัยระดับปานกลางและล้มเหลวในการทำให้สมาชิกประทับใจอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังคิดว่าการที่พระองค์ประทับอยู่นอกประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลานานทำให้พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศสโดยมีสำเนียงเยอรมันแทรกเข้ามาด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ได้ประกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้วและมีการเลือกตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2391 ซึ่งเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย ด้วยคะแนนเสียงกว่า 5,454,000 (หรือประมาณ 75% ของทั้งหมด) ผู้สมัครคู่แข่งที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับสองคือ หลุยส์ อูแชน กาวาญัค ซึ่งได้คะแนนเสียงไป 1,448,000 คะแนน หลุยส์-นโปเลียนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน พระองค์กล่าวว่าพระองค์เป็นดั่ง "ทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคน" พวกนิยมกษัตริย์ขวา (ซึ่งสนับสนุนพระประยูรญาติราชวงศ์บูร์บงหรือออร์เล-อง) และชนชั้นกลางส่วนมากสนับสนุนพระองค์ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์เป็น "ผู้สมัครที่แย่น้อยที่สุด" ซึ่งคาดหมายว่าพระองค์จะเป็นผู้รื้อฟื้นความแข็งแกร่งกลับคืนมา หลังจากเสถียรภาพของประเทศฝรั่งเศสสั่นคลอนหลังจากการปฏิวัติโค่นล้มกษัตริย์ในเดือนกุมภาพันธ์ และป้องกันการปฏิวัติสังคมนิยมอีกด้วย ในทางกลับกัน ชนชั้นล่างซึ่งทำงานในด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนหลุยส์-นโปเลียนจากการแสดงมุมมองการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่สู้ชัดเจนนัก ในการชนะเลือกตั้งของพระองค์นั้น คะแนนส่วนมากมาจากมวลชนชนบทซึ่งไม่ได้รับความรู้ทางการเมือง
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
พระบรมนามาภิไธย :: ชาร์ลส์ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต
ราชวงศ์ :: ราชวงศ์โบนาปาร์ต
ครองราชย์ :: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2395 ถึง 4 กันยายน พ.ศ. 2413
ระยะครองราชย์ :: 18 ปี
รัชกาลก่อนหน้า :: (พฤตินัย:หลุยส์ อูแชน กาเวญัค)
(นิตินัย:หลุยส์ โบนาปาร์ต)
รัชกาลถัดไป :: ล้มเลิกระบอบกษัตริย์
(พฤตินัย:หลุยส์ ฌูลส์ โตรชู)
(นิตินัย:นโปเลียนที่ 4)
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ :: 20 เมษายน พ.ศ. 2351 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต :: 9 มกราคม พ.ศ. 2416 (64 ปี) ที่ชิเซิลเฮิร์สต์ ประเทศอังกฤษ
พระราชบิดา :: หลุยส์ โบนาปาร์ต
พระราชมารดา :: พระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์
พระมเหสี :: สมเด็จพระจักรพรรดินียูเจนี แห่งมอนติโจ
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน ประสูติ ณ กรุงปารีส เป็นโอรสพระองค์ที่ 3 ของหลุยส์ โบนาปาร์ต พระอนุชาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์ พระราชธิดาใน พระนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ (จากการสมรสครั้งแรก) พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระบิดา - มารดาของพระองค์ได้รับตำแหน่งให้เป็นกษัตริย์และพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นของจักรวรรดิฝรั่งเศส แต่ภายหลังจากการพ่ายแพ้และลงจากตำแหน่งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 และการกลับมาของราชวงศ์บูร์บงในประเทศฝรั่งเศส สมาชิกราชวงศ์โบนาปาร์ตได้ถูกเนรเทศออกจากประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้หลุยส์-นโปเลียน ผู้เยาว์วัยได้เติบโตขึ้นมาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (อาศัยกับพระมารดาในมลรัฐเล็กๆ ชื่อว่า Thurgau) และในประเทศเยอรมนี (ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย เมืองออกซ์บูร์ก บาวาเรีย) ในฐานะหนุ่มวัยเยาว์เขาได้อาศัยในประเทศอิตาลี ในที่ๆ พระเชษฐา นโปเลียน หลุยส์ ได้สนับสนุนการปกครองแบบเสรีนิยมและมีส่วนร่วมกับคาร์โบนารี องค์กรต่อต้านอิทธิพลของออสเตรียในดินแดนตอนเหนือของประเทศอิตาลี ซึ่งต่อมาจะมีอิทธิพลต่อการปกครองของพระองค์ในนโยบายการต่างประเทศ
ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสยังปกครองด้วยราชวงศ์บูร์บง ต่อมาราชวงศ์ออร์เลอง และยังมีขบวนการสนับสนุนราชวงศ์โบนาปาร์ต (โบนาปาร์ตนิยม) อยู่อีกด้วย ตามกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่ได้ประกาศในสมัยรัชสมัยของพระองค์ ผู้ซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังก์อันดับแรกคือพระราชโอรสของพระองค์ ดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ หรือเป็นที่รู้จักในพวกโบนาปาร์ตนิยมว่า "นโปเลียนที่ 2" ซึ่งเป็นหนุ่มขี้โรคที่ถูกจำคุกอยู่ในศาลแห่งเวียนนา ลำดับต่อมาคือ พระเชษฐาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระนามว่า "โฌเซฟ โบนาปาร์ต" ต่อมาคือ หลุยส์ โบนาปาร์ตและโอรสทั้งหลาย (พระเชษฐาของหลุยส์ โบนาปาร์ต ลูเซียง โบนาปาร์ตและทายาทได้ถูกข้ามในรายพระนามผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์เนื่องจากพระองค์ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่พอใจในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์เอง) เมื่อโฌเซฟ โบนาปาร์ตไม่มีโอรส และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2374 และการสิ้นพระชนม์ของดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ ทำให้หลุยส์-นโปเลียนกลายมาเป็นองค์รัชทายาทในการสืบบัลลังก์ ซึ่งพระปิตุลาและพระบิดาของพระองค์ก็ได้มีพระชนม์มากแล้ว ซึ่งก็ปล่อยภาระให้มาอยู่ในพระกรของพระองค์
พระองค์ได้แอบกลับสู่ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2379 และเป็นครั้งแรกในพระชนมชีพที่ได้เป็นผู้นำในการรัฐประหาร พร้อมด้วยพวกโบนาปาร์ตนิยมที่เมืองสตราสบูร์ก ทางด้านพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ก็ได้สถาปนาราชวงศ์แห่งเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2373 และเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทั้งผู้สนับสนุนกษัตริย์พระองค์ที่สืบพระราชสันตติวงศ์มาโดยถูกต้อง พวกสาธารณรัฐนิยมและโบนาปาร์ตนิยม ถึงกระนั้นการรัฐประหารได้ประสบความล้มเหลว และถูกเนรเทศไปยังโลเรียงต์ และต่อมาที่สหรัฐอเมริกา และได้พำนักอยู่ที่นิวยอร์กเป็นเวลา 4 ปี และอีกครั้งหนึ่งที่เขาลักลอบกลับมาและพยายามอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2383 โดยล่องเรือมากับทหารจ้างจำนวนหนึ่งสู่บูโลญ แต่ทว่าในครั้งนี้ พระองค์ถูกจับได้และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังอยู่ในความช่วยเหลือของพระประยูรญาติที่เมืองออง (Ham) เขตการปกครองซอมม์ ขณะที่เขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง สายพระเนตรของพระองค์ได้แย่ลง แต่พระองค์ก็ยังประพันธ์เรียงความร้อยแก้วและหนังสือที่เกี่ยวกับการอ้างสิทธิในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์และการปฏิรูปการปกครอง รวมทั้งข้อเสนอเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบผสมสังคมนิยมอีกด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้ความหมายว่าเป็น ลัทธินิยมโบนาปาร์ต ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 พระปิตุลาของพระองค์ โฌเซฟ โบนาปาร์ตได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้พระองค์อยู่ในสายการสืบสันตติวงศ์ในการขึ้นครองราชย์ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาพระองค์ก็ได้หลบหนีไปยังเมืองเซาธ์พอร์ท ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2389 โดยการเปลี่ยนฉลองพระองค์กับช่างก่ออิฐคนหนึ่ง (ซึ่งต่อมาศัตรูของพระองค์ได้เยาะเย้ยพระองค์โดยการตั้งชื่อเล่นให้พระองค์ว่า "บาแดงเกต์ (Badinguet) " ซึ่งเป็นชื่อของช่างก่ออิฐที่พระองค์สลับฉลองพระองค์ด้วย) หนึ่งเดือนต่อมาพระบิดาของพระองค์ หลุยส์ ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนเป็นรัชทายาทในราชสกุลโบนาปาร์ตอย่างปฏิเสธไม่ได้
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 ที่ประเทศฝรั่งเศส และมีการปลดพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ก็สามารถนิวัติกลับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์ก็ได้กระทำเช่นนั้น พระองค์ได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391 และพระองค์ก็ได้เป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก ทั้งถูกมองว่าเป็นนักปราศรัยระดับปานกลางและล้มเหลวในการทำให้สมาชิกประทับใจอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังคิดว่าการที่พระองค์ประทับอยู่นอกประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลานานทำให้พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศสโดยมีสำเนียงเยอรมันแทรกเข้ามาด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ได้ประกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้วและมีการเลือกตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2391 ซึ่งเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย ด้วยคะแนนเสียงกว่า 5,454,000 (หรือประมาณ 75% ของทั้งหมด) ผู้สมัครคู่แข่งที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับสองคือ หลุยส์ อูแชน กาวาญัค ซึ่งได้คะแนนเสียงไป 1,448,000 คะแนน หลุยส์-นโปเลียนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน พระองค์กล่าวว่าพระองค์เป็นดั่ง "ทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคน" พวกนิยมกษัตริย์ขวา (ซึ่งสนับสนุนพระประยูรญาติราชวงศ์บูร์บงหรือออร์เล-อง) และชนชั้นกลางส่วนมากสนับสนุนพระองค์ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์เป็น "ผู้สมัครที่แย่น้อยที่สุด" ซึ่งคาดหมายว่าพระองค์จะเป็นผู้รื้อฟื้นความแข็งแกร่งกลับคืนมา หลังจากเสถียรภาพของประเทศฝรั่งเศสสั่นคลอนหลังจากการปฏิวัติโค่นล้มกษัตริย์ในเดือนกุมภาพันธ์ และป้องกันการปฏิวัติสังคมนิยมอีกด้วย ในทางกลับกัน ชนชั้นล่างซึ่งทำงานในด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนหลุยส์-นโปเลียนจากการแสดงมุมมองการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่สู้ชัดเจนนัก ในการชนะเลือกตั้งของพระองค์นั้น คะแนนส่วนมากมาจากมวลชนชนบทซึ่งไม่ได้รับความรู้ทางการเมือง
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
พระบรมนามาภิไธย :: ชาร์ลส์ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต
ราชวงศ์ :: ราชวงศ์โบนาปาร์ต
ครองราชย์ :: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2395 ถึง 4 กันยายน พ.ศ. 2413
ระยะครองราชย์ :: 18 ปี
รัชกาลก่อนหน้า :: (พฤตินัย:หลุยส์ อูแชน กาเวญัค)
(นิตินัย:หลุยส์ โบนาปาร์ต)
รัชกาลถัดไป :: ล้มเลิกระบอบกษัตริย์
(พฤตินัย:หลุยส์ ฌูลส์ โตรชู)
(นิตินัย:นโปเลียนที่ 4)
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ :: 20 เมษายน พ.ศ. 2351 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต :: 9 มกราคม พ.ศ. 2416 (64 ปี) ที่ชิเซิลเฮิร์สต์ ประเทศอังกฤษ
พระราชบิดา :: หลุยส์ โบนาปาร์ต
พระราชมารดา :: พระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์
พระมเหสี :: สมเด็จพระจักรพรรดินียูเจนี แห่งมอนติโจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น