วันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม)
ความหมาย วันขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ประวัติความเป็นมา วันขึ้นปีใหม่
ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น ประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวพืชผล และ นำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็จะมาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราว วันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน
ครั้งมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่
ประวัติความเป็นมาของไทย
ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ สำหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นังจักรีมหาปราสาทพระราชทาน ฉลากแก่พระบรมวงศฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมา ที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละคร หลวงแล้วเสด็จ ฯ กลับ
สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศก สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวร พุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวัน ขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตาม โบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่ ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ เมษายน
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนสำหรับงานของทาง ราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปี หรือวันที่ ๓๑ ธันวาคม ทางราชการหรือ ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง และมหรสพ มีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พรปีใหม่ แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำ ปราศรัย พอถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง เพื่อแสดง ความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่ โดยทั่วกัน ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไป ทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตร หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน
การทำบุญ วันขึ้นปีใหม่
เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรมแต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัดอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง
วันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ประวัติความเป็นมา วันขึ้นปีใหม่
ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น ประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวพืชผล และ นำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็จะมาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราว วันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน
ครั้งมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่
- พวกยิวจะขึ้นปีใหม่ อย่างเป็นทางการประมาณวันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม และ ทางศาสนาเริ่มวันที่ 21 มีนาคม
- ชาวคริสเตียนในยุคกลางจะเริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม
- คนอังกฤษ เชื้อสายแองโกลซักซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม
ประวัติความเป็นมาของไทย
ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ สำหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นังจักรีมหาปราสาทพระราชทาน ฉลากแก่พระบรมวงศฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมา ที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละคร หลวงแล้วเสด็จ ฯ กลับ
สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศก สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวร พุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวัน ขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตาม โบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่ ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ เมษายน
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนสำหรับงานของทาง ราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปี หรือวันที่ ๓๑ ธันวาคม ทางราชการหรือ ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง และมหรสพ มีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พรปีใหม่ แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำ ปราศรัย พอถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง เพื่อแสดง ความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่ โดยทั่วกัน ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไป ทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตร หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน
การทำบุญ วันขึ้นปีใหม่
เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรมแต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัดอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น