วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

สาเหตุความขัดแย้ง
ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในสมัยปัจจุบันมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1.สาเหตุด้านเชื้อชาติ ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีต เชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ด ยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
2.ความขัดแย้งทางด้านศาสนา  ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง 3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม ในสมันจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ แต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์ หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลง จนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิว ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีก นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาวเปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย
3.ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ประเทสต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองำม่เมท่ากัน บางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่อน เป็นต้น บางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง เช่น กรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่าน ซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน
4.ปัญหาทางด้านการเมือง ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์ เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทสปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรัก ลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้น หรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลาม เช่น สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆ มีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ
5.การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ การแทรกแซงของมหาชาติอำนาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร
 กรณีขัดแย่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง
1สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล (ค.ศ.1948-1973)
สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง คือ
1.สงครามอาหรับ-อิสราเอล   (Arab-Israeli War 1948-1949)
2.สงครามไซนาย-สุเอซ (Sinai-Suez War ค.ศ. 956)
องค์การสหประชาชาติและมหาอำนาจตะวันตกได้เข้ามาเจรจาเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับคลองสุเอซ โดยให้อิสราเอลและอียิปต์ถอนทหารออกไป กระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 ทหารทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ถอนกำลังำปจากคลองสุเอซ
2 สงครามระหว่างอิหร่าน-อิรัก (Iras-Iraq War ค.ศ. 1980-1988)
ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่าน ร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบ จากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก
สงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้ 2 ประเทศนี้ได้เจรจรยุติสงครามกัน เพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมา
ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนของอิรักประกาศว่า จะพยายามยุติสงครามลงด้วสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้าม กล่าวคือ ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่าน
ในค.ศ. 1987 องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงคราม อิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะ ปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988 อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทานและผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรัก ในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988
            3สงครามอ่าวเปอร์เซีย
อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศ โดยพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมาก แต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออกกลาง กล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธ และกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก 
 สงครามอ่าวเปอร์เซีย


ส่วนคูเวตเป็นประเทศเล็กๆ ด้าวในสุดของอ่าวเปอร์เซีย ตั้งอยู่ระหว่างอิรักและซาอุดิอาระเบีย ในอดีตคูเวตเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก แต่ด้วยเหตุที่เป็นแหล่งน้ำมันอย่างมหาศาล จึงถูกสหราชอาณาจักรครอบครองตั้งแต่ ค.ศ. 1914 และได้รับเอกราชในค.ศ. 1961 ในระยะที่อิรักยุติสงครามกับอิหร่านนั้น เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ อิรักจึงกล่าวหาว่าประเทศสมาชิกของโอเปกทั้งหลายผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมากเกินไป จึงทำให้ราคาตกต่ำ ส่วนคูเวตนั้นนอกจากมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำ อิรักยังกล่าวหาว่า คูเวตสูบน้ำมันมาจากแหล่งของตน อิรักจึงเจรจาเรื่องพรมแดนกับคูเวตซึ่งเคยมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันมาก่อน ซึ่งอิรักหวังว่าจะได้ดินแดนที่เป็นแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้นและอาจจะได้ดินแดนที่เป็นทางออกสู่อ่าวเปอร์เซียกว้างขึ้นด้วย แต่คูเวตกลับปฏิเสธคำขอนี้ ดังรั้รวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 อิรักจึงได้เคลื่อนกองกำลังเข้ายึดคลองคูเวตไว้
ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างประณามการกระทำของอิรัก ส่วนคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดประชุมฉุกเฉินและมีมติให้อิรักถอนกำลังออกไป แต่อิรักกลับเพิกเฉยโดยอ้างว่าคูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของตน ดังนั้น สหประชาชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส พร้อมประเทศอื่นๆ จึงได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่ตะวันออกกลางและทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ สนามบิน และเส้นทางคมนาคมในประเทศอิรัก โดยเฉพาะกรุงแบกแดดและเมื่อใหญ่อื่นๆพร้อมกันนั้นฝ่ายสหประชาชาติก็ได้ยื่นคำขาดให้อิรักถอนทหารออกไปจากคูเวต แต่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ไม่ยอมปฏิบัติตาม ดังรั้รกองกำลังของสหประชาชาติจึงเคลื่อนกำลังเข้ายึดคูเวตกลับคืนได้ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 โดยใช้เวลาขับไล่อิรักออกไปจากคูเวตเพียว 100 ชั่วโมงเท่านั้น
สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสหประชาชาติได้นำอาวุธที่ทันสมัยออกมาใช้มาก ทำให้ทหารฝ่านสหประชาชาติเสียชีวิตไปเพียงไม่กี่คน ส่วนทางฝ่ายอิรักไม่ยอมเปิดเผยความสูญเสียของชีวิตทหารแต่ทรพย์สินและสิ่งก่อสร้างในประเทศอิรักได้รับความสูญเสียมาก เช่น สนามบิน สะพาน บ้านเรือน สถานที่ราชการ ค่ายทหารและแหล่งยุทธศาสตร์ เป็นต้น ทางด้านคูเวต นอกจากจะถูกอิรักกอบโกยทรัพย์สินจากภาคเอกชนและราชการไปแล้ว อน้ำมันในคูเวตหลายร้อยบ่อยังถูกอิรักจุดไฟเผ่าทิ้งก่อนล่าถอย ทำให้ต้องใช้เวลาเกือบปีจึงจะดับไฟหมด และอิรักยังปล่อยน้ำมันดิบลงสู่อ่าวเปอร์เซียจำนวนมหาศาลอีก ซึ่งเป็นการจงใจทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

ผลกระทบของความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง
1.ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทำให้กลางเมืองของโลกตึงเครียดขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้ง จนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน เช่น สหรัฐอเมริการกับอดีตสหภาพโซเวียตในกรณีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับอิสราเอล เป็นต้น
2.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงมีอิทธิพลในประเทศต่างๆดังเช่น สงครามอิรักบุกยึดคลองคูเวตใน ค.ศ. 1990-1991 เปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบทบาทในการขับไล่อิรักออกจากคูเวตได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจนถึงขั้รจัดตั้งฐานทัพในประเทสอิสลามหลายประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ เป็นต้น นอกจากสหรัฐอเมริกายังสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศแถบนี้ด้วย
3.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นกลุ่มประเทสผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เมื่อปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เกิดขึ้น ราคาน้ำมันจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จยส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ดังเช่น กรณีสงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักกับคูเวตใน ค.ศ. 1990 น้ำมันกลายเป็นอาวุธสำคัญที่กลุ่มอาหรับใช้ในการต่อรองทางการเมืองกับชาติมหาอำนาจโดยการเพิ่มราคาน้ำมันจนก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า วิกฤตการณ์น้ำมัน เป็นต้น
4.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลก ซึ่งการก่อการร้าย คือ วิถีทางการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่าที่มีต่อผู้เข้มแข็งที่เห็นได้ชัด เช่น กรณีสงครามที่อสราเอลมีชัยชนะเหนือประเทสอาหรับและเข้ายึดครองดินแดนประเทศต่างๆ ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำของอิสราเอลรวมตัวกันเป็นขบวนการก่อการร้ายเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในทุกวิถีทางในทุกพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการต่อสู้และการก่อการร้ายต่อชาติพันธมิตรขงอิสราเอลด้วย ซึ่งส่งผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียเป็นจำนวนมาก

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศิลปศาสตร์

ศิลปศาสตร์ (อังกฤษLiberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง
เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น
ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศิลปศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium)
การศึกษาในกลุ่ม ไตรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ ตรรกศาสตร์และวาทศาสตร์ (rhetoric) ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่เลขคณิต เรขาคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์) ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยสมัยกลาง
คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง

ศิลปศาสตร์ 18 ประการ

ในสายวัฒนธรรมตะวันออก มีกล่าวถึงศิลปศาสตร์ 18 ประการ ดังนี้
  1. สูติ ความรู้ทั่วไป
  2. สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียมต่างๆ
  3. สังขยา การคำนวณ
  4. โยคยันตร์ การช่างยนต์
  5. นีติ นีติศาสตร์
  6. วิเสสิกา ความรู้การอันทำให้เกิดมงคล
  7. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์
  8. คณิกา วิชาบริหารร่างกาย
  9. ธนุพเพธา วิชายิงธนู
  10. ปุราณา โบราณคดี
  11. ติกิจฉา วิชาแพทย์
  12. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์
  13. โชติ ดาราศาสตร์
  14. มายา วิชาพิชัยสงคราม
  15. ฉันทสา การประพันธ์
  16. เกตุ วาทศิลป์
  17. มันตา วิชามนต์
  18. สัททา ไวยากรณ์
1.สุติ วิชาฟังเสียงคน เสียงสัตว์ รู้ว่าดีรู้ว่าร้าย 2. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม 3.สังขยา วิชาคำนวณ 4. โยคยันต์ วิชาการช่าง 5. นัติ วิชาแบบแผนราชการ 6. วิเสสิกา วิชาการค้า 7.คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ 8. คณิกา วิชากายบริหาร 9.ธนุพเพธา วิชายิงธนู 10.ปุราณา วิชาโบราณคดี 11.ติกิจฉา วิชาการแพทย์ 12.อิติหาสา วิชาตำนานหรือวิชาประวัติศาสตร์ 13.โชติ วิชาดาราศาสตร์ 14. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม 15.ฉันทสา วิชาการประพันธ์ 16. เกตุ วิชาการพูด 17. มันตา วิชาร่ายมนต์ 18. สัททา วิชาไวยากรณ์

นิรโทษกรรม (กฎหมายอาญา)

นิรโทษกรรม (อังกฤษamnesty) ในกฎหมายอาญา หมายถึง "การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด"[1] นิรโทษกรรมเป็นยิ่งกว่าการอภัยโทษ เพราะกฎหมายถือว่าผู้นั้นไม่เคยกระทำผิดมาก่อน
ทางการอาจประกาศนิรโทษกรรมให้เมื่อตัดสินใจว่า การนำพลเมืองมาอยู่ใต้กฎหมายสำคัญกว่าลงโทษจากการละเมิดในอดีต นิรโทษกรรมหลังสงครามช่วยยุติความขัดแย้ง ขณะที่กฎหมายต่อต้านกบฏ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง ฯลฯ ยังคงไว้เพื่อขัดขวางผู้ทรยศในอนาคตระหว่างความขัดแย้งในอนาคต แต่นิรโทษกรรมสร้างสำนึกให้อภัยผู้ละเมิดในอดีต หลังข้าศึกไม่หลงเหลือแล้วซึ่งได้ดึงดูดการสนับสนุนของพวกเขา แต่อีกจำนวนมากยังหลบหนีจากทางการ ข้อดีของการใช้นิรโทษกรรมยังอาจรวมการหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีอาญาราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ละเมิดจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง กระตุ้นให้ผู้ที่หลบหนีทางการกลับมาปรากฏตัว และกระตุ้นการปรองดองระหว่างผู้ละเมิดกับสังคม