วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

สาเหตุความขัดแย้ง
ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในสมัยปัจจุบันมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1.สาเหตุด้านเชื้อชาติ ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีต เชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ด ยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
2.ความขัดแย้งทางด้านศาสนา  ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง 3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม ในสมันจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ แต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์ หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลง จนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิว ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีก นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาวเปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย
3.ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ประเทสต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองำม่เมท่ากัน บางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่อน เป็นต้น บางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง เช่น กรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่าน ซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน
4.ปัญหาทางด้านการเมือง ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์ เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทสปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรัก ลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้น หรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลาม เช่น สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆ มีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ
5.การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ การแทรกแซงของมหาชาติอำนาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร
 กรณีขัดแย่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง
1สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล (ค.ศ.1948-1973)
สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง คือ
1.สงครามอาหรับ-อิสราเอล   (Arab-Israeli War 1948-1949)
2.สงครามไซนาย-สุเอซ (Sinai-Suez War ค.ศ. 956)
องค์การสหประชาชาติและมหาอำนาจตะวันตกได้เข้ามาเจรจาเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับคลองสุเอซ โดยให้อิสราเอลและอียิปต์ถอนทหารออกไป กระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 ทหารทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ถอนกำลังำปจากคลองสุเอซ
2 สงครามระหว่างอิหร่าน-อิรัก (Iras-Iraq War ค.ศ. 1980-1988)
ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่าน ร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบ จากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก
สงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้ 2 ประเทศนี้ได้เจรจรยุติสงครามกัน เพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมา
ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนของอิรักประกาศว่า จะพยายามยุติสงครามลงด้วสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้าม กล่าวคือ ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่าน
ในค.ศ. 1987 องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงคราม อิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะ ปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988 อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทานและผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรัก ในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988
            3สงครามอ่าวเปอร์เซีย
อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศ โดยพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมาก แต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออกกลาง กล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธ และกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก 
 สงครามอ่าวเปอร์เซีย


ส่วนคูเวตเป็นประเทศเล็กๆ ด้าวในสุดของอ่าวเปอร์เซีย ตั้งอยู่ระหว่างอิรักและซาอุดิอาระเบีย ในอดีตคูเวตเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก แต่ด้วยเหตุที่เป็นแหล่งน้ำมันอย่างมหาศาล จึงถูกสหราชอาณาจักรครอบครองตั้งแต่ ค.ศ. 1914 และได้รับเอกราชในค.ศ. 1961 ในระยะที่อิรักยุติสงครามกับอิหร่านนั้น เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ อิรักจึงกล่าวหาว่าประเทศสมาชิกของโอเปกทั้งหลายผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมากเกินไป จึงทำให้ราคาตกต่ำ ส่วนคูเวตนั้นนอกจากมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำ อิรักยังกล่าวหาว่า คูเวตสูบน้ำมันมาจากแหล่งของตน อิรักจึงเจรจาเรื่องพรมแดนกับคูเวตซึ่งเคยมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันมาก่อน ซึ่งอิรักหวังว่าจะได้ดินแดนที่เป็นแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้นและอาจจะได้ดินแดนที่เป็นทางออกสู่อ่าวเปอร์เซียกว้างขึ้นด้วย แต่คูเวตกลับปฏิเสธคำขอนี้ ดังรั้รวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 อิรักจึงได้เคลื่อนกองกำลังเข้ายึดคลองคูเวตไว้
ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างประณามการกระทำของอิรัก ส่วนคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดประชุมฉุกเฉินและมีมติให้อิรักถอนกำลังออกไป แต่อิรักกลับเพิกเฉยโดยอ้างว่าคูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของตน ดังนั้น สหประชาชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส พร้อมประเทศอื่นๆ จึงได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่ตะวันออกกลางและทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ สนามบิน และเส้นทางคมนาคมในประเทศอิรัก โดยเฉพาะกรุงแบกแดดและเมื่อใหญ่อื่นๆพร้อมกันนั้นฝ่ายสหประชาชาติก็ได้ยื่นคำขาดให้อิรักถอนทหารออกไปจากคูเวต แต่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ไม่ยอมปฏิบัติตาม ดังรั้รกองกำลังของสหประชาชาติจึงเคลื่อนกำลังเข้ายึดคูเวตกลับคืนได้ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 โดยใช้เวลาขับไล่อิรักออกไปจากคูเวตเพียว 100 ชั่วโมงเท่านั้น
สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสหประชาชาติได้นำอาวุธที่ทันสมัยออกมาใช้มาก ทำให้ทหารฝ่านสหประชาชาติเสียชีวิตไปเพียงไม่กี่คน ส่วนทางฝ่ายอิรักไม่ยอมเปิดเผยความสูญเสียของชีวิตทหารแต่ทรพย์สินและสิ่งก่อสร้างในประเทศอิรักได้รับความสูญเสียมาก เช่น สนามบิน สะพาน บ้านเรือน สถานที่ราชการ ค่ายทหารและแหล่งยุทธศาสตร์ เป็นต้น ทางด้านคูเวต นอกจากจะถูกอิรักกอบโกยทรัพย์สินจากภาคเอกชนและราชการไปแล้ว อน้ำมันในคูเวตหลายร้อยบ่อยังถูกอิรักจุดไฟเผ่าทิ้งก่อนล่าถอย ทำให้ต้องใช้เวลาเกือบปีจึงจะดับไฟหมด และอิรักยังปล่อยน้ำมันดิบลงสู่อ่าวเปอร์เซียจำนวนมหาศาลอีก ซึ่งเป็นการจงใจทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

ผลกระทบของความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง
1.ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทำให้กลางเมืองของโลกตึงเครียดขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้ง จนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน เช่น สหรัฐอเมริการกับอดีตสหภาพโซเวียตในกรณีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับอิสราเอล เป็นต้น
2.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงมีอิทธิพลในประเทศต่างๆดังเช่น สงครามอิรักบุกยึดคลองคูเวตใน ค.ศ. 1990-1991 เปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบทบาทในการขับไล่อิรักออกจากคูเวตได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจนถึงขั้รจัดตั้งฐานทัพในประเทสอิสลามหลายประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ เป็นต้น นอกจากสหรัฐอเมริกายังสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศแถบนี้ด้วย
3.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นกลุ่มประเทสผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เมื่อปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เกิดขึ้น ราคาน้ำมันจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จยส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ดังเช่น กรณีสงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักกับคูเวตใน ค.ศ. 1990 น้ำมันกลายเป็นอาวุธสำคัญที่กลุ่มอาหรับใช้ในการต่อรองทางการเมืองกับชาติมหาอำนาจโดยการเพิ่มราคาน้ำมันจนก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า วิกฤตการณ์น้ำมัน เป็นต้น
4.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลก ซึ่งการก่อการร้าย คือ วิถีทางการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่าที่มีต่อผู้เข้มแข็งที่เห็นได้ชัด เช่น กรณีสงครามที่อสราเอลมีชัยชนะเหนือประเทสอาหรับและเข้ายึดครองดินแดนประเทศต่างๆ ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำของอิสราเอลรวมตัวกันเป็นขบวนการก่อการร้ายเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในทุกวิถีทางในทุกพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการต่อสู้และการก่อการร้ายต่อชาติพันธมิตรขงอิสราเอลด้วย ซึ่งส่งผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียเป็นจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น