Le passé composé Le passé composé (อดีต) ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ้นสุดไปแล้ว เช่น ฉันได้รับจดหมาย = J’ai reçu une lettre. เขาไปตลาด = Il est allé au marché. โครงสร้างของ passé composé ก็คือ Auxiliaire + participe passé Auxiliaire มีอยู่ 2ตัว คือ V. être กับ V. avoir ผันตามประธานในกาลปัจจุบัน V. avoir = j’ai, tu as, il a, elle a, ils ont, elles ont, nous avons, vous avez + participe passé V. être = je suis, tu es, il est, elle est, ils sont, elles sont, nous sommes, vous êtes + participe passé ส่วนใหญ่เราจะใช้ V. avoir เป็น Auxiliaire แต่ก็มีกริยาอยู่ประมาณ 20 ตัว และกริยาที่เรียกว่า Verbe pronominal หรือ Verbes pronominaux ถ้าเป็นพหูพจน์ ที่เราต้องใช้ V. être เป็น Auxiliaire Verbes เหล่านี้ก็คือ rester, tomber, rentrer, entrer, partir, repartir, sortir, ressortir, arriver, aller, venir, revenir, survenir, advenir, monter, remonter, descendre, redescendre, mourir, naître ตัวอย่าง Il est tombé. Je suis rentré. Je suis parti. Elle est arrivée. Elle est venue ส่วน Verbes pronominaux ก็อย่างเช่น se laver, se baigner, se coiffer, se lever ตัวอย่าง Je me suis lavé, Il s’est levé เมื่อใช้ V. être ต้องระวัง Accords ให้สอดคล้องกับประธาน( sujet )ด้วย - ถ้าประธานเป็นเพศหญิงคนเดียวหรือ อย่างเดียวเพราะอาจเป็นสิ่งของ ที่ participe passé เราต้องเติม e เช่น Je suis partie = ฉัน(ผู้หญิง)ไปแล้ว ถ้า « ฉัน » เป็นเพศชายก็ไม่ต้องต่อเติมอะไร Je suis parti. อีกตัวอย่างหนึ่ง นาฬิกาผมตก = Ma montre est tombée ประธานคือ นาฬิกา เป็นเพศหญิง -ถ้าประธานเป็นเพศหญิงพหูพจน์ ให้เติม es ที่ participe passé เช่น Elles sont arrivées. Les portes sont fermées -ถ้าประธานเป็นเพศชายพหูพจน์ให้เติม s ที่ participe passé เช่น Mes parents sont allés au cinéma. สรุป : Sujet /féminin /singulier *** ประธาน / เพศหญิง / เอกพจน์ เติม e Sujet /féminin / pluriel *** ประธาน / เพศหญิง / พหูพจน์ เติม es Sujet / masculin / singulier *** ประธาน / เพศชาย / เอกพจน์ ไม่เติมอะไร Sujet / masculin / pluriel *** ประธาน/ เพศชาย / พหูพจน์ เติม s Participe passé -ของ กริยากลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วย é โดยเปลี่ยน er เป็น é เช่น manger= mangé chanter= chanté tomber = tombé -ของกริยากลุ่มที่ 2 จะลงท้ายด้วย i โดยเปลี่ยน ir เป็น i เช่น finir = fini choisir = choisi -ของกริยากลุ่มที่ 3 ต้องจำเอาหน่อยเพราะไม่มีหลักตายตัว จะลงท้ายด้วย : U เช่น courir = couru venir = venu descendre = descendu boire = bu vouloir = voulu I เช่น partir = parti sortir = sorti rire = ri sourire =souri suivre = suivi S อาจเป็น is, os, us เช่น prendre = pris apprendre = appris asseoir = assis mettre = mis dissoude = dissous inclure = inclus T อาจเป็น ait, int, it, ort, ert … - V. กลุ่มที่ลงท้าย ire เราจะเปลี่ยนเป็น it เช่น dire = dit écrire = écrit faire = fait frire = frit - V. กลุ่มที่ลงท้าย indre เราจะเปลี่ยน dre เป็น t เช่น craindre = craint joindre = joint peindre =peint -V. กลุ่มที่ลงท้าย uire เราจะเปลี่ยน uire เป็น uit เช่น Conduire = conduit, construire = contruit, cuire = cuit, détruire = détruit - V. กลุ่มที่ลงท้าย rir เราจะเปลี่ยน ert เช่น Couvrir = couvert ouvrir = ouvert offrir = offert souffrir = souffert |
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น