ระบบการศึกษาของฝรั่งเศส ในฝรั่งเศสเด็กต้องไปโรงเรียนในเขตที่อาศัยอยู่ที่อยู่ไกล้บ้าน อาจขอย้ายเขตได้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ ส่วนโรงเรียนเอกชนซึ่งต้องเสียเงิน ใครจะไปเรียนที่ไหนก็ได้ การสมัครเข้าเรียนครั้งแรกในโรงเรียนของรัฐต้องไปติดต่อที่ Mairie ในเขตที่อยู่ ที่แผนกโรงเรียน ( Bureau des écoles ) เมื่อเด็กอายุได้ 2-3 ขวบ ระดับอนุบาล (la maternelle) สำหรับเด็ก 3-5 ขวบ เขารับเด็ก 2 ขวบครึ่งด้วยถ้ามีที่เพียงพอ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนอนุบาล ของรัฐ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน แต่ทางโรงเรียนก็ขอเงินบริจาคจากผู้ปกครองเด็กเหมือนกัน เพื่อซื้ออุปกรณ์ เล็กๆน้อยๆแต่ไม่ได้บังคับนะ ใครจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ระดับนี้มีทั้งหมด 3 ชั้นเรียน ชั้นเล็ก (Petite Section) ชั้นกลาง (Moyenne Section) และชั้นสูง (Grande Section) โปรแกรมกรเรียนการสอนจะเน้นการพูด จินตนาการสร้างสรรค์ การค้นพบโลกภายนอกและการอยู่ร่วมกัน จะไม่สอนการอ่าน การเขียน ระดับประถม (l’école primaire หรือ élémentaire) 6-10 ขวบ มีแค่ 5 ชั้น CP , CE1, CE2, CM1, CM2 ถ้าเทียบกับบ้านเราก็ ป. 1-ป.5 เด็กๆจะเริ่มเรียนอย่างจริงจัง การอ่าน การเขียน เมื่อจบชั้น CP เด็กส่วนใหญ่จะอ่านเขียนได้แล้ว นอกจากนี้ก็มี คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี พละศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนเหมือนกัน ทางโรงเรียนจะมีหนังสือให้ยืมและจะสอนให้เด็กระมัด รักษาให้ดี เพื่อเด็กรุ่นหลัง จะได้ใช้ต่อ มีสมุดให้ ผู้ปกครองซื้อบ้างเล็กน้อย อย่างเช่น ของใช้ ปากกา ดินสอ สมุด ระดับมัธยม ( L’école secondaire ) 11-18 ปี มัธยมต้น (Collège ) 11-14 ปี มีทั้งหมด 4 ชั้น เขาจะนับถอยหลัง ชั้น 6-5-4-3 Sixième, cinqième, quatrième, troisième เทียบกับบ้านเราก็ ป.6 – ม. 1 –ม. 2 – ม. 3 ปีแรกเรียนต่อ ภาษาฝรั่งเศส คณิตศาสตร์ ประวัติ มีวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ภาษาเพิ่มเติม และนักเรียนต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนที่มีครูสอนของแต่ละวิชา ปีถัดมามีภาษาต่างประเทศให้เลือกเรียนเพิ่มอีกภาษาหนึ่ง รวมทั้งภาษาละตินด้วย ปีสุดท้ายจะมีแนะแนวแนวทางศึกษาต่อ นักเรียนต้องเลือกว่าจะเรียนต่อสายสามัญเทคโนโลยีหรือสายอาชีพ ระดับมัธมปลาย ( Lycée ) 11-18 ปี 1. คนที่เลือกสายสามัญและเทคโนโลยีต้องเรียนต่ออีก 3 ปีซึ่งมีชั้น la seconde , la première, la terminale เทียบกับบ้านเรา ม.4 –ม.5 – ม.6 เมื่อจบแล้วต้องเตรียมตัวสอบ เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรสายสามัญ (Baccalauréat général ) หรือ ประกาศนียบัตรสายเทคโนโลยี ซึ่งมีแยกย่อยออกมาหลายสาขา เช่น Bac L – ศิลป์-อักษร Bac ES - เศรษฐศาสตร์สังคม Bac S- วิทยาศาสตร์ Bac ETI – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ใครที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ต้องสอบให้ได้ ประกาศนียบัตร ตัวนี้ก่อน การสอบจะใช้ข้อสอบ กลางของรัฐเหมือนกันทั่วประเทศ 2. สายอาชีพ (Lycée professionnel ) เมื่อเรียนต่ออีก 2 ปีในสาขาอาชีพที่ต้องการ ก็จะได้ CAP (Certificat d’Aptitude Professionnelle ) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรสายวิชาชีพ หรือประกาศนียบัตรอาชีวศึกษา Brevet d’Etudes Professionnelles (BEP) และประกาศนียบัตรมัธยมปลายสายอาชีพ (Baccalauréat professionnel) ระดับอุดมศึกษา การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศสจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ( CYCLES ) 1. ระดับที่หนึ่ง (1er cycle) เป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะเลือกวิชาเอก ซึ่งใช้เวลาเรียน 2 ปี จบแล้วได้ DEUG (Diplôme d’études Universitaires Générales) เป็นอนุปริญญาจบแล้วจะไม่เรียนต่อก็ได้ อาจจะออกมาหางานทำ บางทีก็เห็นที่เขาประกาศรับสมัครงานที่บอกว่าต้องการคนที่จบ Bac + 2 ก็ระดับนี้แหละค่ะ 2. ระดับที่สอง (2ème cycle) Licence คือระดับ ปริญญาตรี ต่อจาก DEUG อีก 1 ปี หรือเท่ากับ BAC+3 Maîtrise ปริญญาโท ต่อจาก Licenc อีก1 ปี หรือ เท่ากับ BAC+4 3. ระดับที่สาม (3ème cycle ) DEA (Diplôme d’études Approfondies) เป็นการ ฝึกงานวิจัย 1 ปี หลังจากนั้นก็สามารถต่อปริญญาเอกได้ ส่วน DESS (Diplôme d’études Supérieures Spécialisées) นั้นเป็นปริญญาบัตรสายอาชีพ Doctorat ปริญญาเอก ใช้เวลา 3-5 ปี แต่ปัจจุบันได้มีการปรับระบบใหม่เหลือแค่ 3 ระดับเพื่อให้เหมือนกันกับประเทศอื่นๆในยุโรป ซึ่งคล้ายกับระบบของเมืองไทย เขาเรียกว่าระบบ LMD ก็คือ Licence ปริญญาตรี เท่ากับ Bac+3 แต่บ้านเราเรียนตั้ง 4 ปีนะ Master ปริญญาโท เรียนต่อจากปริญญาตรีอีก 2 ปี เท่ากับ Bac+5 Doctorat ปริญญาเอก เรียนต่อจากปริญญาโทอีก 3 ปี เท่ากับ Bac+8 |
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น