วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555


Photobucket

สนธิสัญญาแวร์ซาย 
(Treaty of Versailles)
เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น ถึงแม้ว่าจะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แล้วก็ตาม การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีสได้กินเวลาไปกว่าหกเดือน จึงได้มีการสรุปสนธิสัญญา

ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้จักรวรรดิเยอรมันต้องยินยอมรับผิดในฐานะผู้ก่อสงครามแต่เพียงผู้เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้ข้อตกลงมาตรา 231 (ในภายหลังรู้จักกันว่า "อนุประโยคความผิดในอาชญากรรมสงคราม") และในมาตรา 232-248 เยอรมนีถูกปลดอาวุธ ถูกจำกัดอาณาเขตดินแดน รวมไปถึงต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่กลุ่มประเทศฝ่ายไตรภาคีเป็นจำนวนมหาศาล เมื่อปี ค.ศ. 1921 ได้ประเมินว่ามูลค่าของค่าปฏิกรรมสงครามที่เยอรมนีจะต้องจ่ายนั้นสูงถึง 132,000 ล้านมาร์ก (ราว 31,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 6,600 ล้านปอนด์) อันเป็นจำนวนที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้และไม่สร้างสรรค์ และเยอรมนีอาจต้องใช้เวลาชำระหนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 1988 สนธิสัญญาดังกล่าวได้ถูกบ่อนทำลายด้วยเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นภายหลังปี ค.ศ. 1932 จนกระทั่งร้ายแรงขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1930

การแก่งแย่งและเป้าหมายที่ขัดแย้งกันเองของฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามทำให้ไม่มีฝ่ายใดพอใจผลการประนีประนอมที่ได้มาเลย ทั้งเยอรมนีก็ไม่ได้รับการปลอบประโลมหรือไมตรีตอบแทนใด ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลร้ายต่ออนาคตของเยอรมนีเท่านั้น หากกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ตลอดจนโลกทั้งใบอีกด้วย การที่ฝ่ายพันธมิตรไม่รื้อฟื้นความสัมพันธ์หรือทำให้เยอรมนีอ่อนแออย่างถาวร ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นปัจจัยหลักซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง

การชำระค่าปฏิกรรมสงครามนัดสุดท้ายมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วันครบรอบยี่สิบปีการรวมประเทศเยอรมนี และเก้าสิบสองปีพอดีหลังสงครามยุติ

มาตรการที่มีต่อเยอรมนี
การจำกัดทางกฎหมาย
มาตรา 227 แจ้งข้อหาแก่จักรพรรดิแห่งเยอรมนี จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ในฐานะก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ นอกจากนี้ยังถูกพิจารณาว่ามีความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม
มาตรา 228-230 ระบุถึงอาชญากรสงครามชาวเยอรมันที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 231 ("อนุประโยคความผิดในอาชญากรรมสงคราม") ได้ถือว่าเยอรมนีเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่ส่งผลประทบต่อพลเรือนของกลุ่มประเทศฝ่ายพันธมิตร

การกำหนดกำลังทหาร
ตามที่ได้ระบุไว้ในส่วนที่ห้าของสนธิสัญญาแวร์ซายว่า "ในความพยายามที่จะเริ่มต้นการจำกัดอาวุธของนานาประเทศนั้น เยอรมนีจำเป็นต้องยอมรับและปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด ซึ่งปริมาณของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศจะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้"
        แคว้นไรน์แลนด์เป็นเขตปลอดทหาร ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองร่วมกันระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส
         กองทัพเยอรมันถูกจำกัดทหารเหลือเพียง 100,000 นาย การประกาศระดมพลถูกล้มเลิก
         ตำแหน่งทหารชั้นประทวนจะได้ต้องยกเลิกไปเป็นเวลา 12 ปี และตำแหน่งนายทหารชั้นสัญญาบัตรจะต้องได้รับการยกเลิกไปเป็นเวลา 25 ปี
         ห้ามทำการผลิตอาวุธในเยอรมนี และห้ามทำการครอบครองรถถัง ยานยนต์หุ้มเกราะ เครื่องบินรบและปืนใหญ่ทั้งสิ้น
          ห้ามเยอรมนีนำเข้าและส่งออกอาวุธ รวมไปถึงการผลิตและการครอบครองแก๊สพิษ
          กำลังพลกองทัพเรือถูกจำกัดลงเหลือ 15,000 นาย เรือรบ 6 ลำ (น้ำหนักเรือไม่เกิน 10,000 เมตริกตัน) เรือลาดตระเวน 6 ลำ (น้ำหนักเรือไม่เกิน 6,000 เมตริกตัน) เรือพิฆาตตอร์ปิโด 12 ลำ (น้ำหนักเรือไม่เกิน 800 เมตริกตัน) และเรือยิงตอร์ปิโด 12 ลำ (น้ำหนักเรือไม่เกิน 200 เมตริกตัน) เยอรมนีห้ามมีเรือดำน้ำในครอบรอง
         การปิดล้อมทางทะเลต่อเรือถูกสั่งห้าม

การกำหนดพรมแดน
จากสนธิสัญญาแวร์ซาย ได้กำหนดให้เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมทั้งหมด รวมไปถึงดินแดนบางส่วนของแผ่นดินแม่ โดยดินแดนที่สำคัญ ได้แก่ ดินแดนปรัสเซียตะวันตก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง และยังต้องสูญเสียฉนวนโปแลนด์และทางออกสู่ทะเลบอลติก นับตั้งแต่ผลของการแบ่งโปแลนด์ และทำให้แคว้นปรัสเซียตะวันออกถูกกีดกันออกไปจากแผ่นดินเยอรมนีเป็นดินแดนแทรก


ปัญหามณฑลซานตง
ตามมาตราที่ 156 ของสนธิสัญญา ได้กำหนดให้สัมปทานของเยอรมนีในมณฑลชานตงของจีนต้องถูกโอนให้แก่ญี่ปุ่น แทนที่จะถูกโอนกลับมาให้อยู่ภายใต้การปกครองของจีน ชาวจีนจึงจัดการเดินขบวนต่อต้านครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า ขบวนการ 4 พฤษภาคม (อังกฤษ: May Fourth Movement) และส่งผลกระทบให้จีนไม่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว จีนได้ประกาศยุติสงครามกับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1919 และลงนามในสนธิสัญญาแยกต่างหากกับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1921


ารจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ
ในส่วนที่หนึ่งของสนธิสัญญาแวร์ซายได้กล่าวถึงกติกาของสันนิบาตชาติ ซึ่งได้นำไปสู่การก่อตั้งสันนิบาตชาติ อันเป็นองค์การระหว่างประเทศโดยมีจุดประสงค์ที่จะขจัดความขัดแย้งระหว่างประเทศ และหลีกเลี่ยงสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนที่สิบสามของสนธิสัญญาแวร์ซาย ก็ได้เป็นจุดกำเนิดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยมีความพยายามที่จะกำหนดจำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน รวมไปถึงการกำหนดเพดานวันและเวลางานสูงสุด การกำหนดการบรรจุแรงงาน และการป้องกันการว่างงาน การกำหนดอัตราค่าจ้างให้เพียงพอต่อค่าครองชีพ การดูแลรักษาแรงงานจากอาการป่วยและบาดเจ็บ การป้องกันการใช้แรงงานเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้บาดเจ็บ การกำหนดผลประโยชน์ของแรงงานเมื่อไม่ได้รับความร่วมมือและการอบรมจากประเทศที่ได้รับการบรรจุ รวมไปถึงมาตรการที่เกี่ยวข้อง และยังได้มีความพยายามที่จะจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศขึ้นเพื่อดูแลดินแดนแถบแม่น้ำเอลเบ แม่น้ำโอเดอร์ แม่น้ำเนอเมนและแม่น้ำดานูบ


ประเทศเกิดใหม่จากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย
Photobucketออสเตรีย มีพื้นที่ 28,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 6 ล้านคน

Photobucketฮังการี มีพื้นที่ 45,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 8 ล้านคน


Photobucketเชโกสโลวาเกีย (ประกอบด้วยแค้วนโบฮีเมีย โมราเวีย สโลวาเกียและบางส่วนของไซลีเซีย) มีพลเมือง 11 ล้านคน


Photobucketยูโกสลาเวีย (ประกอบด้วยแคว้นมอนเตนิโกร บอสเนีย เฮอร์เซโกวนา ชลาโวเนีย คัลมาเซียและโครเอเซีย: ซึ่งเคยเป็นประเทศบอสเนียมาก่อน) มีพลเมือง 9 ล้านคน


Photobucketโปแลนด์ มีพื้นที่ 120,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 12 ล้านคน


Photobucketฟินแลนด์ มีพื้นที่ 150,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 3.5 ล้านคน


Photobucketเอสโตเนีย มีพื้นที่ 18,355 ตารางไมล์ มีพลเมือง 1 ล้านคน


Photobucketลัตเวีย มีพื้นที่ 25,384 ตารางไมล์ มีพลเมือง 2 ล้านคน


Photobucketธงชาติของลิทัวเนีย ลิทัวเนีย มีพื้นที่ 21,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 3.5 ล้านคน



ประวัติการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย
เศรษฐกิจของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอ่อนแอมาก และค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่สามารถจ่ายคืนโดยเป็นสกุลเงินของเยอรมนีได้ กระนั้น แม้แต่การจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเพียงน้อยนิดนี้ก็ยังเป็นภาระหนักสำหรับเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยส่งผลกระทบกว่าหนึ่งในสามของภาวะเงินเฟ้อในสาธารณรัฐไวมาร์ และส่งผลให้เกิดการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายหลายครั้ง อย่างเช่น

Photobucketในปี ค.ศ. 1919 ได้ปรากฏการการล้มล้างกองเสนาธิการ อย่างไรก็ตาม แก่นกลางของกองเสนาธิการกลับอยู่ในอีกองค์กรหนึ่ง ที่เรียกว่า ทรุปเปเนมท์ (เยอรมัน: Truppenamt) ซึ่งได้มีการปรับปรุงหลักสูตรของกองทัพบกและกองทัพอากาศขึ้นใหม่[49] และมีอุปกรณ์การฝึกสอนที่มีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
Photobucketวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1922 ผู้แทนของรัฐบาลเยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาราพัลโล ณ การประชุมเศรษฐกิจโลก ที่เมืองกานัว ประเทศอิตาลี สนธิสัญญาดังกล่าวได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ยกเลิกคำกล่าวอ้างทางเศรษฐกิจ และให้การรับประกันต่อความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Photobucketในปี ค.ศ. 1932 รัฐบาลเยอรมนีประกาศว่าเยอรมนีจะไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงลดอาวุธตามสนธิสัญญา เนื่องจากความล้มเหลวของประเทศฝ่ายพันธมิตรที่จะลดอาวุธ ตามเนื้อหาในส่วนที่ห้าของสนธิสัญญาแวร์ซาย
Photobucketในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1935 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สั่งให้มีการระดมพลในเยอรมนีและสร้างกองกำลังติดอาวุธขึ้นมาใหม่ รวมไปถึงกองทัพเรือ กองพลยานเกราะ (เป็นครั้งแรกในโลก) และกองทัพอากาศ
Photobucketในเดือนมิถุนายน 1935 สหราชอาณาจักรละเมิดสนธิสัญญาอย่างร้ายแรง เมื่อลงนามใน ข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมัน
Photobucketในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 ฮิตเลอร์ส่งทหารเข้าไปยังเขตปลอดทหารไรน์แลนด์
Photobucketในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียเข้ากับเยอรมนี
Photobucketในเดือนกันยายน 1938 ฮิตเลอร์ได้รับความเห็นชอบจากอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลีให้ยึดครองซูเตเดนแลนด์
Photobucketในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ยึดครองเชโกสโลวาเกียทั้งประเทศ
Photobucket1 กันยายน 1939 เยอรมนีรุกรานโปแลนด์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง


Photobucket

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 (ฝรั่งเศส: Napoléon III de France)
หรือเป็นที่รู้จักกันในพระนาม หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต

ประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสในพระนาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 โดยการก่อรัฐประหาร พระองค์ยังถือว่าเป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิฝรั่งเศสอีกด้วย


- ประวัติ -

เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน ประสูติ ณ กรุงปารีส เป็นโอรสพระองค์ที่ 3 ของหลุยส์ โบนาปาร์ต พระอนุชาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์ พระราชธิดาใน พระนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์‎ (จากการสมรสครั้งแรก) พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระบิดา - มารดาของพระองค์ได้รับตำแหน่งให้เป็นกษัตริย์และพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นของจักรวรรดิฝรั่งเศส แต่ภายหลังจากการพ่ายแพ้และลงจากตำแหน่งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 และการกลับมาของราชวงศ์บูร์บงในประเทศฝรั่งเศส สมาชิกราชวงศ์โบนาปาร์ตได้ถูกเนรเทศออกจากประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้หลุยส์-นโปเลียน ผู้เยาว์วัยได้เติบโตขึ้นมาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (อาศัยกับพระมารดาในมลรัฐเล็กๆ ชื่อว่า Thurgau) และในประเทศเยอรมนี (ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย เมืองออกซ์บูร์ก บาวาเรีย) ในฐานะหนุ่มวัยเยาว์เขาได้อาศัยในประเทศอิตาลี ในที่ๆ พระเชษฐา นโปเลียน หลุยส์ ได้สนับสนุนการปกครองแบบเสรีนิยมและมีส่วนร่วมกับคาร์โบนารี องค์กรต่อต้านอิทธิพลของออสเตรียในดินแดนตอนเหนือของประเทศอิตาลี ซึ่งต่อมาจะมีอิทธิพลต่อการปกครองของพระองค์ในนโยบายการต่างประเทศ

ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสยังปกครองด้วยราชวงศ์บูร์บง ต่อมาราชวงศ์ออร์เลอง และยังมีขบวนการสนับสนุนราชวงศ์โบนาปาร์ต (โบนาปาร์ตนิยม) อยู่อีกด้วย ตามกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่ได้ประกาศในสมัยรัชสมัยของพระองค์ ผู้ซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังก์อันดับแรกคือพระราชโอรสของพระองค์ ดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ หรือเป็นที่รู้จักในพวกโบนาปาร์ตนิยมว่า "นโปเลียนที่ 2" ซึ่งเป็นหนุ่มขี้โรคที่ถูกจำคุกอยู่ในศาลแห่งเวียนนา ลำดับต่อมาคือ พระเชษฐาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระนามว่า "โฌเซฟ โบนาปาร์ต" ต่อมาคือ หลุยส์ โบนาปาร์ตและโอรสทั้งหลาย (พระเชษฐาของหลุยส์ โบนาปาร์ต ลูเซียง โบนาปาร์ตและทายาทได้ถูกข้ามในรายพระนามผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์เนื่องจากพระองค์ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่พอใจในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์เอง) เมื่อโฌเซฟ โบนาปาร์ตไม่มีโอรส และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2374 และการสิ้นพระชนม์ของดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ ทำให้หลุยส์-นโปเลียนกลายมาเป็นองค์รัชทายาทในการสืบบัลลังก์ ซึ่งพระปิตุลาและพระบิดาของพระองค์ก็ได้มีพระชนม์มากแล้ว ซึ่งก็ปล่อยภาระให้มาอยู่ในพระกรของพระองค์

พระองค์ได้แอบกลับสู่ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2379 และเป็นครั้งแรกในพระชนมชีพที่ได้เป็นผู้นำในการรัฐประหาร พร้อมด้วยพวกโบนาปาร์ตนิยมที่เมืองสตราสบูร์ก ทางด้านพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ก็ได้สถาปนาราชวงศ์แห่งเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2373 และเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทั้งผู้สนับสนุนกษัตริย์พระองค์ที่สืบพระราชสันตติวงศ์มาโดยถูกต้อง พวกสาธารณรัฐนิยมและโบนาปาร์ตนิยม ถึงกระนั้นการรัฐประหารได้ประสบความล้มเหลว และถูกเนรเทศไปยังโลเรียงต์ และต่อมาที่สหรัฐอเมริกา และได้พำนักอยู่ที่นิวยอร์กเป็นเวลา 4 ปี และอีกครั้งหนึ่งที่เขาลักลอบกลับมาและพยายามอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2383 โดยล่องเรือมากับทหารจ้างจำนวนหนึ่งสู่บูโลญ แต่ทว่าในครั้งนี้ พระองค์ถูกจับได้และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังอยู่ในความช่วยเหลือของพระประยูรญาติที่เมืองออง (Ham) เขตการปกครองซอมม์ ขณะที่เขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง สายพระเนตรของพระองค์ได้แย่ลง แต่พระองค์ก็ยังประพันธ์เรียงความร้อยแก้วและหนังสือที่เกี่ยวกับการอ้างสิทธิในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์และการปฏิรูปการปกครอง รวมทั้งข้อเสนอเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบผสมสังคมนิยมอีกด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้ความหมายว่าเป็น ลัทธินิยมโบนาปาร์ต ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 พระปิตุลาของพระองค์ โฌเซฟ โบนาปาร์ตได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้พระองค์อยู่ในสายการสืบสันตติวงศ์ในการขึ้นครองราชย์ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาพระองค์ก็ได้หลบหนีไปยังเมืองเซาธ์พอร์ท ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2389 โดยการเปลี่ยนฉลองพระองค์กับช่างก่ออิฐคนหนึ่ง (ซึ่งต่อมาศัตรูของพระองค์ได้เยาะเย้ยพระองค์โดยการตั้งชื่อเล่นให้พระองค์ว่า "บาแดงเกต์ (Badinguet) " ซึ่งเป็นชื่อของช่างก่ออิฐที่พระองค์สลับฉลองพระองค์ด้วย) หนึ่งเดือนต่อมาพระบิดาของพระองค์ หลุยส์ ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนเป็นรัชทายาทในราชสกุลโบนาปาร์ตอย่างปฏิเสธไม่ได้


- ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส -

เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 ที่ประเทศฝรั่งเศส และมีการปลดพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ก็สามารถนิวัติกลับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์ก็ได้กระทำเช่นนั้น พระองค์ได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391 และพระองค์ก็ได้เป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก ทั้งถูกมองว่าเป็นนักปราศรัยระดับปานกลางและล้มเหลวในการทำให้สมาชิกประทับใจอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังคิดว่าการที่พระองค์ประทับอยู่นอกประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลานานทำให้พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศสโดยมีสำเนียงเยอรมันแทรกเข้ามาด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ได้ประกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้วและมีการเลือกตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2391 ซึ่งเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย ด้วยคะแนนเสียงกว่า 5,454,000 (หรือประมาณ 75% ของทั้งหมด) ผู้สมัครคู่แข่งที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับสองคือ หลุยส์ อูแชน กาวาญัค ซึ่งได้คะแนนเสียงไป 1,448,000 คะแนน หลุยส์-นโปเลียนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน พระองค์กล่าวว่าพระองค์เป็นดั่ง "ทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคน" พวกนิยมกษัตริย์ขวา (ซึ่งสนับสนุนพระประยูรญาติราชวงศ์บูร์บงหรือออร์เล-อง) และชนชั้นกลางส่วนมากสนับสนุนพระองค์ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์เป็น "ผู้สมัครที่แย่น้อยที่สุด" ซึ่งคาดหมายว่าพระองค์จะเป็นผู้รื้อฟื้นความแข็งแกร่งกลับคืนมา หลังจากเสถียรภาพของประเทศฝรั่งเศสสั่นคลอนหลังจากการปฏิวัติโค่นล้มกษัตริย์ในเดือนกุมภาพันธ์ และป้องกันการปฏิวัติสังคมนิยมอีกด้วย ในทางกลับกัน ชนชั้นล่างซึ่งทำงานในด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนหลุยส์-นโปเลียนจากการแสดงมุมมองการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่สู้ชัดเจนนัก ในการชนะเลือกตั้งของพระองค์นั้น คะแนนส่วนมากมาจากมวลชนชนบทซึ่งไม่ได้รับความรู้ทางการเมือง


จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
พระบรมนามาภิไธย :: ชาร์ลส์ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต
ราชวงศ์ :: ราชวงศ์โบนาปาร์ต
ครองราชย์ :: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2395 ถึง 4 กันยายน พ.ศ. 2413
ระยะครองราชย์ :: 18 ปี
รัชกาลก่อนหน้า :: (พฤตินัย:หลุยส์ อูแชน กาเวญัค)
(นิตินัย:หลุยส์ โบนาปาร์ต)
รัชกาลถัดไป :: ล้มเลิกระบอบกษัตริย์
(พฤตินัย:หลุยส์ ฌูลส์ โตรชู)
(นิตินัย:นโปเลียนที่ 4)

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ :: 20 เมษายน พ.ศ. 2351 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต :: 9 มกราคม พ.ศ. 2416 (64 ปี) ที่ชิเซิลเฮิร์สต์ ประเทศอังกฤษ
พระราชบิดา :: หลุยส์ โบนาปาร์ต
พระราชมารดา :: พระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์
พระมเหสี :: สมเด็จพระจักรพรรดินียูเจนี แห่งมอนติโจ

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
Louvre museum

Photobucket


พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกันชื่อดังเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร ภายในบรรจุงานศิลป์ อายุ ยาวนานกว่า 11 ศตวรรษ จำนวน ประมาณ 380,000 ชิ้น ทั้งรูปปั้น ภาพวาด อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่ง Antioch และมีเพียงงานปั้นและภาพวาด 30,000 ชิ้น เท่านั้นที่นานๆจะนำออกมาแสดงหากจะย้อนดูความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คงต้องย้อนไปถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อครั้งที่กษัตริย์ ฟิลิปเป้ ออกัสเต้ ได้ก่อสร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันกรุงปารีสจากหมู่โจรสลัด โดยจุดที่เลือกก่อตั้งคือริมแม่น้ำเซน ป้อมปราการ และคูคลองยุคกลางยังคงมีให้เห็นในปัจจุบันนี้ต่อมาฟรังเชสที่ 1 ได้รื้อถอน ตึก เก่า แล้วได้สร้างขึ้นใหม่เป็นพระราชวังหลวงและที่พักในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นสถานที่ที่ดีเยี่ยมสำหรับจัดแสดงของสะสมของกษัตริย์นับแต่นั้นมา นอกจากนี้สถานที่แห่งนี้ยังเคย
เป็นที่จัดงานแต่งของนโปเลียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลกและยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส

′ครูลิลลี่′ค้านราชบัณฑิตแก้วิธีเขียน 176 คำศัพท์ลูกครึ่งอังกฤษ ห่วงโกลาหลสร้างความสับสน



กองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน เตรียมสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ จำนวน 176 คำ เนื่องจากเห็นว่ามีการเขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขระวิธีไทยและการอ่านออกเสียง โดยจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม แนวความคิดดังกล่าวได้มีเสียงสะท้อนจากนักวิชาการและครูผู้สอน ทั้งจากฝ่าย ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเกรงว่าจะทำให้ ผู้ใช้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น โดยให้การสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายกิจมาโนจญ์ โรจนทรัพย์ หรือครูลิลลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทย ชื่อดัง แสดงความไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าจะทำให้เกิดความโกลาหลอย่างใหญ่หลวง และทำให้เด็กเกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น เข้าใจว่าสาเหตุที่ราชบัณฑิตจะเปลี่ยนแปลงการเขียน เพราะเห็นว่าปัจจุบันคำยืมมาจากภาษาอังกฤษ ยังออกเสียงไม่ตรงกับวรรณยุกต์ แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็น เช่น แม้จะเขียนว่า "คอมพิวเตอร์" ตามอักขระภาษาอังกฤษ แต่ทุกคนก็อ่านออกเสียงว่า "ค็อมพิ้วเตอร์" ตรงสำเนียงภาษาไทย ซึ่งคนยอมรับและเข้าใจอยู่แล้ว

"วันนี้ คิดว่ายังไม่ควรแก้ไขสิ่งเหล่านี้ มันนิ่ง อยู่แล้ว ไม่ควรทำให้เกิดความสับสน โกลาหล ปัจจุบันภาษามีความเปลี่ยนแปลงบ่อย มีศัพท์สแลงใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาเกือบทุกวัน และถ้าจะต้องปรับเปลี่ยนจริงๆ คงไม่ใช่แค่ 176 คำ แต่คงต้องเปลี่ยนเป็นพันๆ คำ และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กคงจะสับสนมาก" นายกิจมาโนจญ์กล่าว

ครูลิลลี่กล่าวเพิ่มเติมว่า ในฐานะเป็นครูภาษาไทย คิดว่าวิธีการดีที่สุดควรจะสอนให้เด็กอ่าน ออกเสียงให้ถูกต้องว่า ถ้าอ่านออกเสียงแบบนี้เป็นการออกเสียงตามแบบภาษาอังกฤษ และ แบบนี้คือการออกเสียงแบบภาษาไทย เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจถูกต้อง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญทั้งหมดต้องถามคนทั้งประเทศ ไม่ใช่ถามแค่คนหลักร้อยหลักพันเท่านั้น เพราะหากสมมุติว่าต่อไปอีก 50 ปี มีคณะกรรมการจากราชบัณฑิตอีกชุดมีความเห็นว่าควรจะกลับไปใช้เหมือนเดิม ก็จะทำให้เกิดความสับสนกลายเป็นเรื่องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา




ครูลิลลี่ กล่าวด้วยว่า กรณีกังวลว่าชาวต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย เจอศัพท์บางคำที่ไม่มีวรรณยุกต์จะเกิดความสับสนนั้น เห็นว่าเราควรจะมองคนในชาติเป็นหลักมากกว่าจะไปห่วงชาวต่างชาติ เพราะเวลาคนไทยไปเรียนภาษาต่างประเทศก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับเจ้าของภาษา เช่นกัน

นายบุญส่ง อุษณรัสมี อนุกรรมการประเมินผลงานครูวิชาภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และอดีตครูเชี่ยวชาญภาษาไทย โรงเรียนสตรีวิทยา 2 กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะรูปแบบการเขียนภาษาอังกฤษไม่เหมือนกับภาษาไทย ซึ่ง เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ แต่ภาษาอังกฤษไม่มี ดังนั้นไม่ควรนำการออกเสียงของไทยไปกำหนดรูปแบบการเขียนทับศัพท์ในภาษา อังกฤษ ควรจะคงรูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้ ไม่เช่นนั้นจะดูเป็นเรื่องประหลาด และจะกลายเป็นเรื่องตลก

เช่น "โควตา" ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าต้องอ่านออกเสียงว่า "โควต้า" โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการเขียน เพราะแต่ละชาติก็ออกเสียงคำในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ถ้าเรามาเปลี่ยนวิธีการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อให้เข้ากับการออกเสียงของเรา มันจะดูเป็นเรื่องประหลาด ราชบัณฑิตอาจจะตระหนกมากเกินไป มีหลายคำที่รูปแบบภาษามีความสละสลวยในตัวอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน และคนเข้าใจความหมายว่าคืออะไร" นายบุญส่งกล่าว

นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า หากราชบัณฑิตมีการเปลี่ยนแปลงคำยืมมาจากในภาษาอังกฤษ เพื่อให้อ่านออกเสียงง่ายขึ้นคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเด็ก ทั้งในการเรียนวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หากมีการเปลี่ยน แปลงจริงๆ ตำราเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คงต้องปรับให้เหมือนกับของราชบัณฑิตด้วย เพราะราชบัณฑิตถือเป็นสถาบันสำคัญที่ดูแลเรื่องความถูกต้องของการใช้ภาษาไทย อย่างไรก็ตาม คิดว่า คงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่กระทบกับเนื้อหาหลักในตำราเรียน

นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.กล่าว ว่า ในมิติของ สพฐ.ซึ่งเป็นส่วนราชการ หากราชบัณฑิตเปลี่ยนแปลงคำศัพท์อะไรก็คงต้องใช้ตาม เชื่อว่าคงไม่เกิดความสับสน หากมีการชี้แจงให้รอบด้าน และเท่าที่ทราบเป็นการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่นำมาจากต่างประเทศ ให้ชัดเจนขึ้นระหว่างภาษาอ่านกับภาษาเขียน ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยเป็นเรื่องดี ไม่ใช่เรื่องเสียหายอาทิ คำว่า "แคลอรี" มาเป็น "แคลอรี่" ทำให้ภาษาเขียนกับการออกเสียงไปด้วยกันได้ เด็กรุ่นใหม่ที่เขียนทับศัพท์ก็ไม่เกิดความสับสน อ่านง่ายขึ้น ส่วนคนรุ่นอื่นๆ ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา เพราะสมัยนี้การสื่อสารมีความรวดเร็วมาก ดังนั้นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์คำเหล่านี้ให้ใช้อย่างแพร่หลายจึงไม่ใช่ เรื่องยาก และคงใช้เวลาไม่นาน

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นด้วย เป็นเรื่องที่น่าทำ เพราะจะทำให้ภาษามี วิวัฒนาการร่วมสมัยมากขึ้น และที่สำคัญทำให้ช่องว่างเรื่องภาษาลดลง เป็นประโยชน์กับนักเรียนในการสะกดคำให้ตรงตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับเปลี่ยนจริง ช่วงแรกจะมีปัญหาเรื่องพจนานุกรมฉบับเก่ากับฉบับใหม่ซึ่งอาจต้องใช้เวลา แต่คิดว่าจะไม่เกิดความสับสน ขณะเดียวกันราชบัณฑิตเองจะต้องทำประชา สัมพันธ์เกี่ยวกับศัพท์ใหม่ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดียที่จะสื่อสารไปยังผู้ใช้ทุกกลุ่มได้เร็วกว่าช่อง ทางอื่นๆ หรืออาจเชิญนักเรียนมาร่วมพูดคุยรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้เด็กๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม