วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ประวัติ Peter Carl Fabergé
Peter Carl Fabergé เป็นช่างอัญมณีในกลุ่มเดียวกับ Tiffany และ Lalique แต่เป็นนักประดิษฐ์ที่มีพรสวรรค์ในการนำความคิดคลาสสิกมาปรับใช้เพื่อให้ลูกค้าสามารถมีสิ่งประดิษฐ์ที่ประดับด้วยอัญมณีราคาแพง เป็นที่พึงพอใจของคนซื้อและคนรับและความสามารถของ Peter Carl Fabergé และได้กลายมาเป็นตำนานจนทุกวันนี้จน Google ต้องนับมาเป็น Doogle ให้เกียรติแก่เค้านั่นเอง
ผลงานต่างๆของ Peter Carl Fabergé
ต้นตระกูลของ Carl Faberge ได้อพยพมาจากฝรั่งเศสมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในรัสเซีย เมื่อถึงปี 1832 บิดาของ Peter Carl Fabergé ที่ชื่อ Gustav ได้ศึกษาวิธีใช้อัญมณีทำเครื่องประดับจนเริ่มมีชื่อเสียง และตั้งแต่ปี 1845 เป็นต้นมา บรรดาเศรษฐินีไฮโซที่ชอบอวดรวยได้เข้ามาเป็นลูกค้าขาประจำของ Faberge ครอบครัว Faberge มีลูกชายหัวปีชื่อ Peter Carl Fabergé ผู้ถือกำเนิดในปี 1846 และสิ่งประดิษฐ์ของ Peter Carl Fabergé ที่ทำให้ประชาชนรัสเซีย และราชสำนักเริ่มสนใจและสังเกตคือ สิ่งประดิษฐ์รูปไข่ที่ผิวไข่มีอัญมณีประดับ
Peter Carl Faberge
ไข่อัญมณี Peter Carl Faberge
Peter Carl Fabergé

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


โบราณสถานพังยับ ส่วนความเสียหายนั้นกำลังประเมินการอยู่
สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐรายงานว่า เมื่อเวลา 04.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับช่วงสายของวันนี้ตามเวลาในไทย ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ ขึ้นที่ชานเมืองแคมโปซานโต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโบโลญญ่าในอิตาลี
ด้านสำนักงานป้องกันภัยพลเรือนอิตาลี ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานความเสียหายที่เมืองเซ็นต์ อกอสติโน่ ซึ่งพบว่าแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวทำให้ระฆังของโบสถ์แห่งหนึ่งหล่นลงมา ขณะที่ทางการกำลังประเมินความเสียหายในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ.
Source /สำนักข่าวไทย

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ,น้ำตกอีกัวซู
น้ำตกอีกัวซู
MThai News : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า น้ำตกอีกวาซู ของอาร์เจนติน่า ถูกยกให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกใหม่ล่าสุด
ทั้งนี้ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมามูลนิธิ 7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ของโลก ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ประกาศ 7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ล่าสุดของโลก จากผลการโหวตจากคนทั่วโลกที่รวบรวมตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ถึง เดือน กรกฎาคม 2552 สำหรับสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล่าสุด ประกอบไปด้วย
น้ำตกอีกัวซู
1. น้ำตกอีกวาซู อาร์เจนติน่า
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
2. ป่าฝนอะเมซอน
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
3. อ่าวฮาลองเบ เวียดนาม
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
4. เกาะเจจู เกาหลีใต้
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
5. เกาะโคโมโด อินโดนีเซีย
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
6. แม่น้ำใต้ดิน Puerto Princesa ฟิลิปปนส์
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
7. ภูเขาโต๊ะ (Table Mountain) แอฟริกาใต้

วัดจีน,ผาสูง
MThai News : สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า พบวัดตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูงกว่า 2,300ฟุต หรือราว 701 เมตร ของยอดเขาหัวซาน เมืองซีอาน มณฑลซานซี ของจีน
ทั้งนี้ ทางเดียวที่จะขึ้นไปนมัสการวัดแห่งนี้ได้ คือต้องปีนผาโดยใช้เส้นทางลับ ผู้ปีนต้องใช้ความเชื่อมั่นศรัทธาจึงจะปีนขึ้นไปพิชิตวัดได้ นอกจากนี้วัดบนผาสูงแห่งนี้ยังเป็นสถานปัตยกรรรมที่ท้าทายกฎฟิสิกส์ด้วยการตั้งหมิ่นเหม่ที่ขอบผา
สำหรับภูเขาหัวซานได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเรื่องความลาดชันของยอดเขาใต้สวรรค์ เป็น 1 ใน 5 ยอดเขาที่น่ากลัวที่สุดในจีน ทั้งยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานลัทธิเต๋าหลายแห่งด้วยกัน โดยในอดีตจักรพรรดิมักเดินทางมาสักการะกราบไหว้
วัดจีน,ผาสูง

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ฟร็องซัว ออล็องด์


François Hollande (Journées de Nantes 2012).jpg

ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ (ฝรั่งเศสFrançois Gérard Georges Nicolas Hollandeเสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [fʁɑ̃swa ɔlɑ̃d]; 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954) คือประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ออล็องด์ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ด้วยคะแนนเสียงประมาณร้อยละ 51.90[1] เขาเป็นผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดกอแรซในช่วงปี ค.ศ. 1988 – 1993 และ ค.ศ. 1997 ถึงปัจจุบัน เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมในช่วงปี ค.ศ. 1997 – 2008 เป็นประธานสภาเทศบาลกอแรซตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 รวมถึงเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลในช่วงปี ค.ศ. 2001  – 2008 อีกด้วย

ชีวิตในวัยเด็ก

ออล็องด์เกิดในเมืองรูอ็องในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางคาทอลิก แม่ของเขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นหมอหู คอ จมูกที่เคยลงสมัครเป็นผู้สมัครฝ่ายขวาจัดในการเมืองท้องถิ่น เชื่อกันว่านามสกุลออล็องด์ของเขามาจากบรรพบุรุษที่หลบหนีมาจากฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) ในช่วงศตวรรษที่ 16 และนำชื่อประเทศมาเป็นนามสกุล

[แก้]การศึกษา

ออล็องด์เข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำแซ็งฌ็อง-บาติสต์เดอลาซาล และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยอุดมศึกษาพาณิชยการปารีส (HEC Paris), วิทยาลัยการบริหารแห่งชาติ (École nationale d'administration) และสถาบันรัฐศึกษาปารีส (Institut d'Etudes Politiques de Paris) ออล็องด์เคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เข้าทำงานในศาลตรวจสอบบัญชีแห่งฝรั่งเศสทันทีหลังจากจบการศึกษา

เส้นทางการเมืองช่วงต้น

ในปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของฟร็องซัว มีแตร็อง ในอีก 5 ปีต่อมา ออล็องด์ได้เข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยมและถูกจับตามองอย่างรวดเร็วจากฌัก อาตาลีผู้เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของมีแตร็อง ในปี ค.ศ. 1981 อาตาลีได้ให้ออล็องด์ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกอแรซ แข่งขันกับประธานาธิบดีของฝรั่งเศสในอนาคต ฌัก ชีรัก ออล็องด์แพ้การเลือกตั้งแก่ชีรัก เขาก้าวต่อไปโดยไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษแก่ประธานาธิบดีคนใหม่ ฟร็องซัว มีแตร็อง หลังจากนั้นไปเป็นคณะทำงานให้กับโฆษกรัฐบาล หลังจากที่ออล็องด์ได้เป็นสมาชิกเทศบาล Ussel ในปี ค.ศ. 1983 ออล็องด์ได้ลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซอีกครั้ง ในครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จได้เข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส แต่ในปี ค.ศ. 1993 ออล็องด์ได้สูญเสียตำแหน่งผู้แทนราษฎรไปอีกครั้งในการเลือกตั้งที่ถูกเรียกว่า คลื่นสีฟ้า อันเนื่องมาจากการสูญเสียที่นั่งในสภาของพรรคสังคมนิยมให้แก่ฝ่ายขวาเป็นจำนวนมาก

[แก้]เลขาธิการพรรคสังคมนิยม

ออล็องด์และภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ในการหาเสียงในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 2007
ในช่วงใกล้สิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง พรรคสังคมนิยมเกิดความแตกแยกภายในขึ้นเนื่องจากต่างฝ่ายต่างแย่งกันเป็นผู้กำหนดทิศทางของพรรค ออล็องด์ได้ออกมาเรียกร้องความปรองดองและให้พรรครวมตัวเป็นหนึ่งภายใต้ ฌัก เดอลอร์ ประธานสหภาพยุโรป แต่เดอลอร์ปฏิเสธที่จะเป็นตัวแทนพรรคลงสมัครเป็นประธานาธิบดี ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็ง กลับมาเป็นผู้นำพรรคอีกครั้ง ฌ็อสแป็งเลือกออล็องด์ให้เป็นโฆษกพรรคอย่างเป็นทางการ ต่อมาในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 1997 ออล็องด์กลับไปลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ อีกครั้งและประสบความสำเร็จในการกลับเข้าสภา ในปีเดียวกันนั้นเอง ฌ็อสแป็งได้เป็นนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส และออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่ 11 ปี โดยในช่วงระยะเวลานี้ พรรคสังคมนิยมมีตำแหน่งที่แข็งแรงในรัฐบาลฝรั่งเศส ตำแหน่งเลขาธิการพรรคของออล็องด์จึงถูกเรียกในบางครั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี ค.ศ. 2001 ออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลซึ่งเขามีวาระการดำรงตำแหน่งนี้ 7 ปี
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2002 รอบแรก พรรคสังคมนิยมพ่ายแพ้แก่ผู้สมัครฝ่ายขวาจัด ฌ็อง-มารี เลอ แปน อย่างน่าตกตะลึง ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็งตัดสินใจลาออก การลาออกทำให้ออล็องด์กลายเป็นเสมือนผู้นำของพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค.ศ. 2002 ออล็องด์สามารถจำกัดความพ่ายแพ้ไว้ได้บางส่วนโดยเขายังถูกเลือกกลับมาเป็นผู้แทนราษฎรได้ในเขตของตน แต่ผู้สมัครคนอื่น ๆ ของพรรคพ่ายแพ้ไปทั่วประเทศ ก่อนการประชุมใหญ่ประจำปี ค.ศ. 2003 ของพรรคที่จัดขึ้นในเมืองดีฌง ออล็องด์สามารถทำให้ผู้มีชื่อเสียงในพรรคหลายคนหันมาสนับสนุนตนได้ เขาจึงถูกเลือกกลับมาเป็นเลขาธิการพรรคอีกครั้ง แม้ว่าจะถูกฝ่ายซ้ายในพรรคต่อต้านก็ตาม หลังการเลือกตั้งท้องถิ่นของฝรั่งเศสที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 2004 ที่ฝ่ายซ้ายได้รับชัยชนะ ออล็องด์ถูกอ้างถึงว่าอาจเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ แต่พรรคสังคมนิยมในช่วงนั้นถูกแบ่งเป็นสองส่วนในความเห็นเรื่องการจัดตั้งธรรมนูญยุโรป ออล็องด์ซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งธรรมนูญจึงก่อให้เกิดความแตกร้าวภายในพรรค ในปี ค.ศ. 2005 เขายังคงรักษาตำแหน่งเลขาธิการพรรคไว้ได้ในการประชุมใหญ่ของพรรค แต่อำนาจของเขาก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 2007 ภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานธิบดีฝรั่งเศสซึ่งเธอได้พ่ายแพ้ต่อนีกอลา ซาร์กอซี ในปีเดียวกัน ออล็องด์ถูกตำหนิอย่างหนักเนื่องจากผลอันย่ำแย่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี ค.ศ 2007 เขาจึงประกาศที่จะไม่ลงชิงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเมื่อหมดวาระ
หลังจากที่ออล็องด์ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ เขาได้รับเลือกให้แทนที่ฌ็อง-ปีแยร์ ดูว์ปง ในตำแหน่งประธานสภาเทศบาลกอแรซซึ่งเขายังดำรงตำแหน่งนี้ถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2008 เขาสนับสนุนการให้รางวัลเอเตียน บาลูซ (Étienne Baluze) ซึ่งมอบให้บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยออล็องด์เป็นผู้ให้รางวัลนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 แก่นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เบียทริช ปาลเมโร

ชีวิตส่วนตัว

คู่สมรสมานานกว่า 30 ปีของออล็องด์คือ เซกอแลน รัวยาล ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 4 คน คือ ตอมา เกลม็องส์ ฌูว์เลียง และฟลอรา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หนึ่งเดือนหลังการพ่ายแพ้ของรัวยาลในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทั้งคู่ออกมาประกาศว่ากำลังแยกกันอยู่[2] ไม่กี่เดือนถัดมา เว็บไซต์ฝรั่งเศสแห่งหนึ่งออกมาเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างออล็องด์กับ วาเลรี ตรีเยไวเล การประกาศนี้ทำให้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นเนื่องจากบางคนถือว่าการเปิดเผยนี้เป็นการลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของนักการเมือง ในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2007 วาเลรี ตรีเยไวเล ออกมายืนยันในความสัมพันธ์และพูดถึงอย่างเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อ Télé 7 Jours

เต็ง เส่ง

พลเอกเต็ง เส่ง (หรือ เทียน เส่ง) ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่าระหว่าง พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2554

นายกรัฐมนตรี

เต็ง เส่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 โดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นคณะทหารที่ปกครองประเทศพม่า แทนที่พลเอกโซ วิน ผู้ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างได้รับการรักษา ก่อนที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งอย่างถาวรเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 หลังจากการถึงแก่อนิจกรรมของโซ วินเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เต็ง เส่งมีตำแหน่งเป็นเลขานุการเอกของสภาสันติภาพและความมั่นคงของรัฐ และเป็นนายพลสูงสุดลำดับที่ 4 ในประเทศ และเป็นผู้ดำเนินการเจรจาระดับสูงกับบังกลาเทศและกัมพูชา
ไม่นานหลังจากที่เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ เขาก็ได้รับการเลื่อนยศจากพลโทเป็นพลเอก ในระหว่างการเดินทางเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี เต็ง เส่งยังได้ดำเนินกาารเจรจาระดับสูงกับลาว เวียดนาม และกัมพูชา

[แก้]การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2553

ในฐานะหัวหน้าพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา หนึ่งในพรรคการเมืองซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 ผลปรากฏว่า พรรคของเขาได้รับชัยชนะ เมื่อวันที่ 4 กัมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เต็ง เส่งได้รับมติจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศพม่า และเป็นประธานาธิบดีพลเรือนคนแรกภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว

Nine mosquito myths debunked


The first buzz of a mosquito is an unpleasant reminder that summer fun comes with a pesky price. We examined the science behind common mosquito myths and found that while some have a basis in reality, many are plain bunk. Mosquitoes are more than a nuisance -- they carry harmful diseases such as encephalitis and malaria.


1. Lemon dish soap and Listerine repel mosquitoes
Fiction: This myth has been widely circulated around the Internet. According to the Florida Medical Entomology Lab at the University of Florida, these household products do not work to thwart mosquitoes. One of the most effective repellents is DEET. The Centers for Disease Control also recommends repellents with Picaridin and oil of lemon eucalyptus.
If you use a product containing DEET, read the label and do not over-apply. DEET is a powerful chemical that can be harmful if used incorrectly. Make sure the repellent has an EPA-approved label and registration number. Use caution with small children and stick with a formulation that is made for kids.

2. Ultrasonic devices repel mosquitoes
Fiction: Save your money. According to the Department of Entomology at Purdue, these gadgets don't work. Bug zappers do kill mosquitoes, but they also electrocute many beneficial insects including those that eat mosquitoes, so the scientists at Purdue recommend against using them.

3. Taking B vitamins repels mosquitoes
Maybe: According to the Mayo Clinic, B vitamins change a person's odor, which may indeed make them less attractive to mosquitoes.

4. Eating garlic repels mosquitoes
Fiction: According to current research, consuming large amounts of garlic only works against vampires and bad dates.

5. Skin-So-Soft products repel mosquitoes
Fact: BUT, buyer beware: According to a study by the University of Florida, Skin-So-Soft and other products containing Citronella oil are only effective for between 3 and 10 minutes after application.

6. Creating a bat or insect-eating bird habitat will rid your yard of mosquitoes
Fiction: While these species do eat mosquitoes, they probably won't eat enough to make a noticeable difference at your next garden party.

7. Meat tenderizer calms an itchy bite
Fact: The Mayo Clinic recommends mixing a tablespoon of water with a tablespoon of meat tenderizer and forming a paste to apply to a bite. Using an ice pack can ease discomfort as well. OTC remedies to try: hydrocortisone cream and calamine lotion.

8. Mosquitoes die after feeding
Fiction: Unfortunately, the female mosquito (males don't eat blood, they feed on nectar) can live to bite again. Females will die if theydon't get their first blood meal, which they require in order to lay eggs.

9. Mosquitoes transmit the HIV virus
Fiction: According to scientists at the Centers for Disease Control, Rutgers University, and others, mosquitoes cannot transmit the HIV virus from human to human. They do carry the West Nile virus and other serious diseases.
Nearly one million people die each year from malaria, mainly children under the age of 5. You can help eradicate this preventable disease.

ASEAN



asean_564
asean flags2
"One  Vision, One Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg

asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อ
คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน 
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

flag-brunei-darussalam
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์


flag-cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล


flag-indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์


flag-lao_pdr
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ


flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต


flag-myanmar
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต


flag-philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ


flag_singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์


flag-thailand
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท


flag-vietnam
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง