วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

เปิดตำนานการเดินทางของหลุยส์ วิตตอง



ตำนานหลุยส์ วิตตอง สัญลักษณ์แห่งความโก้หรูเริ่มต้นเมื่อปี 1837 โดยชื่อนี้เกิดขึ้นจากกระเป๋าบรรจุสัมภาระที่วางขายในมหานครปารีส เบื้องหลังความสำเร็จของหลุยส์ วิตตองเกิดจากความบังเอิญจากความผิดพลาดของการพิมพ์ตัวอักษรบนแผ่นผ้าอาบใยสังเคราะห์จากตัว WL ซึ่งหมายถึง “ตู้นอน” ของรถไฟชั้นหนึ่ง กลายเป็น อักษร VL ไขว้กันอยู่บนลวดลายดอกไม้สี่กลีบในวงกลมแผ่นผ้าที่ผลิตผิดเหล่านี้จึงถูกลูกค้าปฏิเสธ และเพื่อมิให้เป็นการสูญเปล่า จึงได้นำไปใช้หุ้มหีบใส่สัมภาระสำหรับการเดินทาง ซึ่งแต่เดิมใช้หนังวัวหุ้มบนโครงหีบไม้ มีหมุดเหล็กตอกเป็นระยะเพื่อความทนทาน อันเป็นหีบที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในขณะนั้น และใช้ชื่อสินค้าตามชื่อสกุลของผู้ผลิตเป็นเครื่องหมายการค้า และนั่นคือที่มาของชื่อ Louis Vuitton




หีบของ หลุยส์ วิตตอง เริ่มเป็นที่รู้จักสำหรับนักเดินทางที่เริ่มเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรในเวลาต่อมา ด้วยคุณภาพที่ต่างจากหีบหนังแท้คือมีน้ำหนักเบากว่า สามารถใส่สัมภาระได้มากกว่ารวมทั้งสะดวกต่อการลำเลียง การเดินทางของหีบใบใหม่นี้เริ่มข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านช่องแคบอังกฤษ มุ่งสู่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงนิวยอร์ก และกลายเป็นของก็หรูที่เหล่าเชื้อพระวงศ์ไปจนถึงดาราฮอลลีวูดต่างนิยมชมชอบ


หีบตู้เสื้อผ้า (Wardrobe)

ผลิตจากผ้าใบลายโมโนแกรม หีบสำหรับใส่เสื้อผ้าใบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 1875 และประสบความสำเร็จอย่างมากทางด้านยอดขาย ด้วยภายในออกแบบมาให้สามารถใส่ได้ทั้งสูทของผู้ชายและเครื่องประดับของผู้หญิง พื้นที่ด้านในของตู้เสื้อประกอบไปด้วยลิ้นชักมากมายสำหรับใส่สิ่งของหรือเครื่องใช้ส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีลิ้นชักสำหรับใส่รองเท้าอยู่ข้างใต้หีบเสื้อผ้ารุ่นนี้เหมาะสำหรับหนุ่มสำอางที่ชอบเดินทางไกลเป็นประจำ ส่วนหีบในภาพเป็นสมบัติของเจ้าชายโปลิยัก ได้รับการทำสัญลักษณ์ส่วนตัวด้วยแถบสีแดงขาว ส่วนใครอยากจะมีหีบใบเก๋นี้ไว้ครอบครอบสามารถสั่งทำได้พรอมบริการทำสัญลักษณ์ส่วนตัวหรือชื่อย่อให้อีกด้วย



หีบใส่อาหารไปปิกนิก( Picnic Trunk)
ย้อนไปในยุคเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 รถยนต์เริ่มเป็นพาหนะที่สร้างความกระตือรือร้นให้มนุษย์อยากโลดแล่นออกจากเมืองใหญ่ไปหาอิสระในวันหยุดพักผ่อนกับการไปปิกนิก ซึ่งถือเป็นการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อรองรับกิจกรรมยามว่างใหม่ ๆ ในยุคนั้นเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้ประโยชน์ของการไปปิกนิกอย่างคุ้มค่า จึงได้มีการผลิตหีบใส่อาหารจากผ้าใบลายโมโนแกรมหรือหนังแทนที่จะใช้ตะกร้าสาน หีบของหลุยส์ วิตตองใบนี้สามารถป้องกันทั้งฝุ่นและแมลง หากยังคงความหรูหราไร้ที่ติในการเก็บถ้วยชามเครื่องกระเบื้อง เครื่องเงินและเครื่องแก้วคริสตัลอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556


ไม่ว่าจะรายการทีวี ข่าว สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ พากันพูดถึง AEC ค่อนข้างบ่อยทีเดียว ทว่า AEC คืออะไรและดีอย่างไร? รวมถึงมีอาชีพไหนบ้าง ที่ได้โอกาสทำงานในอาเซียนได้อย่างเสรี วันนี้ Vconnex จะนำมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ กันค่ะ
AEC ย่อมมาจากชื่อเต็มๆ ว่า Asean Economics Community เป็นการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว  เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง โดยมีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนทำจะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) โดยอาเซียนจะรวมตัวเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างจริงจังในวันที่ 1 มกราคม 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า
และจากผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9  ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 7 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่
  • อาชีพวิศวกร( Engineering Services)
  • อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
  • อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
  • อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
  • อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
  • อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
  • อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)
และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น
จากเดิมที่ตลาดมีแค่การให้บริการประชาชน 63 ล้านคน เป็นตลาดของประชาชนร่วม 600 ล้านคนใน 10 ประเทศอาเซียน นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้รวมทั้งไทยอยู่ในทิศทางที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทั้งสิ้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง และโดยภาพรวมคุณภาพของผู้จบวิชาชีพทั้ง 7 ในไทยก็สูงอยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสในการหางานมีสูง
ในขณะที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมาตรฐานของอาชีพทั้ง 7 นั้นคงต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งรัดกุมเป็นอย่างมาก เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพในสาขาอาชีพนั้นๆ ในไทยให้คงเดิม หรือยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก ป้องกันมิให้เกิดการอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐานขององค์กรในการผลิตคน บางแห่งที่อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ในการเร่งผลิตคนในวิชาชีพเหล่านั้นจำนวนมากเพื่อตอบสนองตลาดที่ใหญ่ขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบทางลบโดยรวม
อีกปัญหาที่อาจะตามมาอีกอย่างคือ บางวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์ ถ้าแก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีในเวลาอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาเรื่องการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในสายวิชาชีพทันตแพทย์อย่างแน่นอน ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้ามาประกอบอาชีพทั้ง 7 อาชีพในไทยด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของคนไทยเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ จำนวนคนในวัยทำงานกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อมูลว่าอีกประมาณสิบปีข้างหน้า สัดส่วนคนในวัยทำงานจะต่ำกว่าประชากรผู้สูงอายุมาก นี่จะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีพทั้ง 7 นั้น ผู้ที่จบจากสายวิชาชีพดังกล่าวจะประกันได้ว่าไม่น่าจะมีใครที่ตกงาน เพราะมีตลาดใหญ่มากรองรับทั้งในไทย และในประเทศอาเซียน
ข้อตกลงเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 7 อาชีพในปี 2015 (2558) แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งในด้านการที่คนของเราไปทำงานบ้านเขา และการที่คนบ้านเขามาทำงานในบ้านเรา เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได้

10 อันดับมหาวิทยาลัยในอาเซียน โดย QS 2012-2013


อันดับมหาลัยที่สอนภาษาฝรั่งเศษในปนะเทศไทย


จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ทำการเรียนการสอนด้านภาษาฝรั่งเศสของประเทศไทย 
ของสมาคมฝรั่งเศส-ไทย ซึ่งประเมินจากปริมาณนักศึกษา ผลงานวิจัยตำราด้านภาษาฝรั่งเศสของอาจารย์ในคณะ-มหาวิทยาลัย คุณภาพในด้านการเรียนการสอนอัตราการหางานทำได้ของบัณฑิตที่จบในเอกวิชาภาษาฝรั่งเศสและผลงานต่างๆและรางวัลที่ได้รับทางด้านภาษาฝรั่งเศสของนักศึกษา โดยวัดจากระดับค่าคะแนนเต็มที่ 100
คะแนน มีผลดังต่อไปนี้
1. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 90.71 คะแนน
2. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 87.64 คะแนน
3. คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 87.52 คะแนน
4. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 83.35 คะแนน
5. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 80.32 คะแนน
6. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 79.61 คะแนน
7. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 76.23 คะแนน
8. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 74.85 คะแนน
9. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 73.54 คะแนน
10. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 72.35 คะแนน
11. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 69.62 คะแนน
12. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 66.05 คะแนน
13. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 62.35 คะแนน
14. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 59.22 คะแนน
15. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 58.35 คะแนน
16. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 55.97 คะแนน
17. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 53.80 คะแนน
18. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 52.80 คะแนน
19. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 51.15 คะแนน

20 อันดับ มหาวิทยาลัยที่จบมาแล้วมีโอกาสมีงานทำมากที่สุด

อันดับมหาวิทยาลัย
1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4มหาวิทยาลัยศิลปากร
5มหาวิทยาลัยมหิดล
6วิทยาลัยดุสิตธานี
7มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
8มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
9สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
10มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
12มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13มหาวิทยาลัยรังสิต
14มหาวิทยาลัยรามคำแหง
15มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
17มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
18มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
19มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
20 อันดับ มหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด

อันดับมหาวิทยาลัย
1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4มหาวิทยาลัยศิลปากร
5มหาวิทยาลัยมหิดล
6วิทยาลัยดุสิตธานี
7มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
8มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
9สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
10มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
12มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13มหาวิทยาลัยรังสิต
14มหาวิทยาลัยรามคำแหง
15มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
17มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
18มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
19มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด