วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

Conjugaison 2

Conjugaison ของ Verbe กลุ่มที่ 2 ( choisir, finir, atterrir, applaudir)
ครั้งที่แล้วลูกไก่ได้อธิบาย การผันกริยา กลุ่มที่1 ในกาลปัจจุบันไปแล้ว วันนี้เราจะมาฝึกการผัน ของ Verbe กลุ่มที่ 2 ต่อนะจ๊ะ
Présent
Radical ก็คือ V. infinitif ตัด ir ทิ้ง แล้วตามด้วย les terminaisons « -is, -is, -it, -issons -issez, -issent : »

ตัวอย่าง v. finir le radical = fin
Je finis, tu finis, il finit, nous finissons, vous finissez, ils finissent.

กลุ่มที่ 3 จัดอยู่ในจำพวกที่ไม่ค่อยปกติซักเท่าไหร่ ไม่มีกฏการผันที่ปกติเหมือนชาวบ้านเขา ค่อนข้าง ปวด หัวหน่อย นะคะกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่แล้วต้องจำเอา หรือ หัดใช้บ่อยๆ แล้วจะซึมซาบไปเอง อิ อิ อิ สู้ สู้ สู้
Les ter,inaisons ของ verbes กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็น « s-s-t-ons-ez-ent »

3.1 Verbes ที่ลงท้ายด้วย" -ir " เหมือน กลุ่มที่ 2 เช่น courir, cueillir, dormir, faillir, fuir, mentir, mourir, ouvrir, venir, etc.

V. courir = je cours, tu cours, il court, nous courons, vous courez, ils courent
V. sortir = je sors, tu sors, il sort, nous sortons, vous sortez
V. mentir = je mens, tu mens, il ment, nous mentons, vous mentez, ils mentent
ยกเว้น v. couvrir, cueillir, défaillir, offrir, ouvrir, souffrir จะมี terminaisons เหมือน v. กลุ่มที่ 1
คือ « -e, -es, -e, -ons, -ez, -ent »
เช่น v. ouvrir = J'ouvre, tu ouvres, il ouvre, nous ouvrons, vous ouvrez, ils ouvrent.

คงสงสัยใช่มั้ยคะว่า V. กลุ่มที่2 กับ กลุ่มที่ 3 มันลงท้ายด้วย « -ir » เหมือนกัน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ามันอยู่ กลุ่มไหนกันแน่ ต้องผันแบบกลุ่ม2 หรือ กลุ่ม 3 อันนี้ตัวใครตัวมันล่ะค่ะ ชั่ว..ยไม่ได้ ต้องจำเอาเอง ยกเว้นผู้ที่เป็นเจ้าของภาษา จะรู้ได้เอง อย่างเด็กนักเรียนชั้นประถม ครูที่สอนจะบอกว่า V. ที่อยู่ในกลุ่มที่3 เวลาผันกับ nous, vous จะลงท้ายด้วย « -ons,-ez » ถ้าจบลงด้วย « issons, issez » ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2
เด็กๆก็รู้ได้เองเวลาพูด « เราวิ่ง » Nous courons ไม่ใช่ Nous courissons จะแยกออกว่า V. courir นี้ อยู่ใน กลุ่มที่ 3



3.2 Verbes ที่ลงท้าย « -oir » เช่น avoir, devoir, , pleuvoir, pouvoir, recevoir, savoir, valoir, voir, vouloir, etc.
V. avoir = j'ai, tu as, il a, nous avons, vous avez, ils ont.
V. devoir = je dois, tu dois, il doit, nous devons, vous devez, ils doivent.
V. pleuvoir = il pleut. ฝนตก
V. pouvoir = je peux , tu peux, il peut, nous pouvons, vous pouvez, ils peuvent
V. savoir = je sais, tu sais, il sait, nous savons, vous savez, ils savent.
V. vouloir = je veux, tu veux, il veut, nous voulons, vous voulez, ils veulent.

3.3 Verbes ที่ลงท้ายด้วย « -re » 
« -dre »เช่น V. apprendre, comprendre, entendre, prendre, rendre, , etc. ผันตามตัวอย่าง
V. prendre= je prends, tu prends, il prend, nous prenons, vous prenez, ils prennent.

« -indre » เช่น V. atteindre, ceindre, contraindre, craindre, feindre, joindre, peindre, plaindre, poindre, teindre, etc. ผันตามตัวอย่าง
V. craindre=je crains, tu crains, il craint, nous craignons, vous craignez, ils craignent.

« -ttre » เช่น V. battre, combattre, débattre, émettre, mettre, omettre, permettre, promettre, transmettre, etc.
V. mettre = je mets, tu mets, il met, nous mettons, vous mettez, ils mettent.
V.battre = je bats, tu bats, il bat, nous battons, vous battez, ils battent.

« aître หรือ aitre » เช่น V. apparaître, connaître , disparaître , naître , paître, paraître, etc.
V. connaître = je connais, tu connais, il connait, nous connaissons, vous connaissez, ils connaissent.
Le comparatif

Le comparatif การเปรียบเทียบ

การบอกการอธิบายคุณสมบัติอะไรสักอย่างโดยการเปรียบเทียบ อย่างเช่น
ฉันสวยกว่าเธอ ฉันเก่งพอๆกับเธอ เธอฉลาดน้อยกว่าฉัน

การเปรียบเทียบจะมีอยู่ 3 ระดับ

1.ระดับเท่าเทียมกัน 

Aussi.. que ใช้ กับคำคุณศัพท์ (Adjectif ) ( aussi+adj + que )

Ex. Thomas est aussi beau que Philippe = โตมาส์หล่อพอๆกับฟิลิปป์

Aussi.. que ใช้กับคำวิเศษณ์ ( Adverbe ) ( aussi + adv+ que)
Ex. Je conduis aussi vite que Anna = ฉันขับรถเร็วพอๆกับแอนนา

Autant que ใช้กับคำกริยา ( Verbe )
Ex. Je mange autant que toi = ฉันกินจุพอๆกับเธอนั่นแหละ
autant de…que ใช้กับคำนาม (nom) (autant de + nom+que)

Ex. J’achète autant de livres que toi = ฉันซื้อหนังสือมากพอๆกับเธอ

2.ระดับที่เหนือกว่า 

Plus…que ใช้กับคำคุณศัพท์ (plus +adj+ que)
Ex. Britney est plus jolie que Nicole = บริทนี่สวยกว่านิโคล

Plus..que ใช้กับคำวิเศษณ์ (plus +adv+ que)

Ex. Je travaille plus vite que Karen = ฉันทำงานเร็วกว่าคาเรน

Plus que ใช้กับคำกริยา (Verbe+plus que)

Ex. Je mange plus que toi = ฉันกินมากกว่าเธอ
Plus de…que ใช้กับคำนาม ( plus de + nom+que)

Ex. Elle mange plus de pommes que moi = หล่อนกินแอปเปิลมากกว่าฉัน

3.ระดับต่ำกว่า

Moins…que ใช้กับคำคุณศัพท์ (moins+ adj +que)

Ex. Malee est moins intelligente que Kinaree = มาลีฉลาดน้อยกว่ากินรี

Moins…que ใช้กับคำวิเศษณ์ ( moins + adj +que )
Ex. Nina court moins vite que moi. = นีน่าวิ่งช้ากว่าฉัน
Moins que ใช้กับคำกริยา ( Verbe+ moins que)
Ex. Elle travaille moins que moi. = หล่อนทำงานน้อยกว่าฉัน

Moins de…que ใช้กับคำนาม ( verbe+moins de +nom+que)
Ex. Tina mange moins de gateau que moi.

แต่ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันอย่างเช่น
คำว่า« Bon » จะไม่ใช้ว่า plus bon แต่จะใช้ « meilleur » แทน
« ผัดไทยอร่อยกว่ามันทอด » เราจะไม่พูดว่า Paad thai est plus bon que des frites. แต่จะใช้ว่า Paad thai est meilleur que des frites.
สรุป
ใช้กับคำคุณศัพท์(Adj)
Thomas est aussi / plus / moins beau que Philippe

ใช้กับคำวิเศษณ์ ( Adv) 
Je conduis aussi / plus / moins vite qu’Anna

ใช้กับคำกริยา ( v) J
Je mange autant /plus/moins que toi

ใช้กับคำนาม (n)
J’achète autant /plus/moins / de livres que toi
Masculin-Féminin

การเปลี่ยนคำนามจากเพศชายให้เป็นเพศหญิง

1. โดยการเติม « e »
un ami – une amie
un renard – une renarde

2. โดยการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายแล้วตามด้วย « e »
Un chat – une chatte
Un lion – une lionne

3. โดยการเปลี่ยน « f » ให้เป็น « v »
Un veuf – une veuve

4. เปลี่ยน « eau » เป็น « elle » เช่น un jumeau – une jumelle

5. เปลี่ยน « eur » เป็น « euse » เช่น un chanteur – une chanteuse, un vendeur – une vendeuse

6. เปลี่ยน « eux » เป็น « euse » เช่น un peureux – une peureuse

7. เปลี่ยน « teur » เป็น « trice » เช่น un directeur – une directrice,

8. เปลี่ยน « er » เป็น « ère » เช่น un berger – une bergère, un boulanger – une boulangère

9. เปลี่ยน « ier » เป็น « ière » เช่น un patissier – une patissière, un caissier – une caissière

10. โดยการเติม « esse » เช่น un prince – une princesse, un tigre – une tigresse

มีคำนามบางชนิดจะใช้ Masculin –Féminin คนละคำกันไปเลย เช่น un cheval – une jument

คำนามที่ใช้เหมือนกันทั้งเพศหญิงเพศชาย เช่น un élève – une élève,

คำนามที่มีเฉพาะเพศชาย เช่น un professeur, un ministre 
ระบบการศึกษาของฝรั่งเศส

ในฝรั่งเศสเด็กต้องไปโรงเรียนในเขตที่อาศัยอยู่ที่อยู่ไกล้บ้าน อาจขอย้ายเขตได้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ
ส่วนโรงเรียนเอกชนซึ่งต้องเสียเงิน ใครจะไปเรียนที่ไหนก็ได้
การสมัครเข้าเรียนครั้งแรกในโรงเรียนของรัฐต้องไปติดต่อที่ Mairie ในเขตที่อยู่ ที่แผนกโรงเรียน ( Bureau des écoles ) เมื่อเด็กอายุได้ 2-3 ขวบ

ระดับอนุบาล (la maternelle)

สำหรับเด็ก 3-5 ขวบ เขารับเด็ก 2 ขวบครึ่งด้วยถ้ามีที่เพียงพอ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนอนุบาล ของรัฐ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน แต่ทางโรงเรียนก็ขอเงินบริจาคจากผู้ปกครองเด็กเหมือนกัน เพื่อซื้ออุปกรณ์ เล็กๆน้อยๆแต่ไม่ได้บังคับนะ ใครจะให้หรือไม่ให้ก็ได้
ระดับนี้มีทั้งหมด 3 ชั้นเรียน
ชั้นเล็ก (Petite Section) ชั้นกลาง (Moyenne Section) และชั้นสูง (Grande Section)
โปรแกรมกรเรียนการสอนจะเน้นการพูด จินตนาการสร้างสรรค์ การค้นพบโลกภายนอกและการอยู่ร่วมกัน จะไม่สอนการอ่าน การเขียน

ระดับประถม (l’école primaire หรือ élémentaire) 6-10 ขวบ
มีแค่ 5 ชั้น CP , CE1, CE2, CM1, CM2 ถ้าเทียบกับบ้านเราก็ ป. 1-ป.5
เด็กๆจะเริ่มเรียนอย่างจริงจัง การอ่าน การเขียน เมื่อจบชั้น CP เด็กส่วนใหญ่จะอ่านเขียนได้แล้ว นอกจากนี้ก็มี คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี พละศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนเหมือนกัน ทางโรงเรียนจะมีหนังสือให้ยืมและจะสอนให้เด็กระมัด รักษาให้ดี เพื่อเด็กรุ่นหลัง จะได้ใช้ต่อ มีสมุดให้ ผู้ปกครองซื้อบ้างเล็กน้อย อย่างเช่น ของใช้ ปากกา ดินสอ สมุด

ระดับมัธยม ( L’école secondaire ) 11-18 ปี

มัธยมต้น (Collège ) 11-14 ปี

มีทั้งหมด 4 ชั้น เขาจะนับถอยหลัง ชั้น 6-5-4-3 Sixième, cinqième, quatrième, troisième เทียบกับบ้านเราก็ ป.6 – ม. 1 –ม. 2 – ม. 3
ปีแรกเรียนต่อ ภาษาฝรั่งเศส คณิตศาสตร์ ประวัติ มีวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ภาษาเพิ่มเติม
และนักเรียนต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนที่มีครูสอนของแต่ละวิชา
ปีถัดมามีภาษาต่างประเทศให้เลือกเรียนเพิ่มอีกภาษาหนึ่ง รวมทั้งภาษาละตินด้วย
ปีสุดท้ายจะมีแนะแนวแนวทางศึกษาต่อ นักเรียนต้องเลือกว่าจะเรียนต่อสายสามัญเทคโนโลยีหรือสายอาชีพ

ระดับมัธมปลาย ( Lycée ) 11-18 ปี

1. คนที่เลือกสายสามัญและเทคโนโลยีต้องเรียนต่ออีก 3 ปีซึ่งมีชั้น la seconde , la première, la terminale เทียบกับบ้านเรา ม.4 –ม.5 – ม.6 เมื่อจบแล้วต้องเตรียมตัวสอบ เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรสายสามัญ
(Baccalauréat général ) หรือ ประกาศนียบัตรสายเทคโนโลยี ซึ่งมีแยกย่อยออกมาหลายสาขา เช่น
Bac L – ศิลป์-อักษร
Bac ES - เศรษฐศาสตร์สังคม
Bac S- วิทยาศาสตร์
Bac ETI – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ใครที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ต้องสอบให้ได้ ประกาศนียบัตร ตัวนี้ก่อน การสอบจะใช้ข้อสอบ
กลางของรัฐเหมือนกันทั่วประเทศ

2. สายอาชีพ (Lycée professionnel )
เมื่อเรียนต่ออีก 2 ปีในสาขาอาชีพที่ต้องการ ก็จะได้ CAP (Certificat d’Aptitude Professionnelle ) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรสายวิชาชีพ หรือประกาศนียบัตรอาชีวศึกษา Brevet d’Etudes Professionnelles (BEP) และประกาศนียบัตรมัธยมปลายสายอาชีพ (Baccalauréat professionnel)

ระดับอุดมศึกษา

การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศสจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ( CYCLES )

1. ระดับที่หนึ่ง (1er cycle) เป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะเลือกวิชาเอก ซึ่งใช้เวลาเรียน 2 ปี จบแล้วได้
DEUG (Diplôme d’études Universitaires Générales) เป็นอนุปริญญาจบแล้วจะไม่เรียนต่อก็ได้ อาจจะออกมาหางานทำ บางทีก็เห็นที่เขาประกาศรับสมัครงานที่บอกว่าต้องการคนที่จบ Bac + 2 ก็ระดับนี้แหละค่ะ

2. ระดับที่สอง (2ème cycle)
Licence คือระดับ ปริญญาตรี ต่อจาก DEUG อีก 1 ปี หรือเท่ากับ BAC+3
Maîtrise ปริญญาโท ต่อจาก Licenc อีก1 ปี หรือ เท่ากับ BAC+4

3. ระดับที่สาม (3ème cycle )

DEA (Diplôme d’études Approfondies) เป็นการ ฝึกงานวิจัย 1 ปี หลังจากนั้นก็สามารถต่อปริญญาเอกได้
ส่วน DESS (Diplôme d’études Supérieures Spécialisées) นั้นเป็นปริญญาบัตรสายอาชีพ

Doctorat ปริญญาเอก ใช้เวลา 3-5 ปี

แต่ปัจจุบันได้มีการปรับระบบใหม่เหลือแค่ 3 ระดับเพื่อให้เหมือนกันกับประเทศอื่นๆในยุโรป ซึ่งคล้ายกับระบบของเมืองไทย เขาเรียกว่าระบบ LMD ก็คือ

Licence ปริญญาตรี เท่ากับ Bac+3 แต่บ้านเราเรียนตั้ง 4 ปีนะ

Master ปริญญาโท เรียนต่อจากปริญญาตรีอีก 2 ปี เท่ากับ Bac+5

Doctorat ปริญญาเอก เรียนต่อจากปริญญาโทอีก 3 ปี เท่ากับ Bac+8
 
ประโยคปฏิเสธ 

La phrase negative

ลองสังเกตุดูประโยคเหล่านี้นะคะ

Ratree parle français. / Ratree ne parle pas français.
Elle habite à Paris. / Elle n’habite pas à Paaris.
Je suis thailandaise. / Je ne suis pas française.

เห็นมั้ยคะว่าเราจะใช้ ne…pas ในประโยคปฏิเสธโดยใส่คำกริยาไว้ตรงกลาง ( ne + verbe + pas )

ถ้าคำกริยาที่ตามหลัง « ne » ขึ้นต้นด้วยสระ ให้ใช้
« n’ » แทนนะคะ อย่างเช่น

Verbe : habiter, héberger, héritier, habiller, ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสเขาจะไม่ออกเสียง « h » ฉะนั้น คำกริยาเหล่านี้จึงถือว่าขึ้นต้นด้วยสระ ส่วนคำกริยาอื่นที่ขึ้นต้นด้วยสระ ก็อย่างเช่น
Verbe : avoir, abandonner, être, écouter, écrire,

EX. Elle n’est pas anglaise. / เธอไม่ใช่คนอังกฤษ
Il n’a pas d’argent. / เขาไม่มีเงิน
Tu n’écoutes pas la maîtresse. / เธอไม่ได้ฟังคุณครู

ขำๆฝรั่งเศส

La façon de raisonner
La maitresse demande à Toto. Tu vois Toto sur la branche de l'arbre,

il y a 3 oiseaux. Un chasseur tire ... Combien reste il d'oiseaux ? Toto répond zéro Madame, ils sont tous morts ! Mais non Toto, répond la maitresse, il n'y en a qu'un de mort, les autres se sont envollés. Mais j'aime bien ta façon de raisonner Toto. Le lendemain, Toto revient à l'école et demande à la maitresse : Madame, devant le marchand de glaces, il y a 3 femmes il y en a une qui suce sa glace, une autre qui mord sa glace et la troisième qui léche sa glace ! Madame, laquelle est mariée ??????? La maitresse réfléchit un instant et répond celle qui suce sa glace ! Mais non Madame, c'est celle qui porte une alliance, mais j'aime bien votre façon de raisonner ......

คุณครูถามโตโต้ « โตโต้ เห็นมั้ย บนกิ่งไม้นั่นน่ะ มีนกเกาะอยู่ 3 ตัว คนล่าสัตว์ ยิง….แล้วจะเหลือนกกี่ตัว »

โตโต้ตอบ « ก็ไม่เหลือซิคับครู นกมันตายหมด »
คุณครูค้าน « ไม่ใช่หรอก โตโต้ มันตายแค่ตัวเดียว ที่เหลือ มันบินหนีหมด แต่ครูก็ชอบวิธีการคิดของเธอนะโตโต้ »

วันรุ่งขึ้นโตโต้กลับมาโรงเรียนและถามคุณครูว่า
« คุณครูคับ ที่หน้าร้านขายไอศครีม มีผู้หญิงอยู่ 3 คน คนหนึ่งดูด ไอศครีม อีกคนหนึ่งกัดไอศครีม ส่วนคนที่สามเลียไอศครีม คุณครูว่า คนไหนที่แต่งงานแล้วคับ »
ครูคิดอยู่พักหนึ่งแล้วก็ตอบว่า « คนที่ดูดไอศครีม »

« ไม่ใช่คับคุณครู คนที่สวมแหวนแต่งงานต่างหาก แต่ผม ก็ชอบ วิธีการคิดของครูคับ »

สะพาน Alexandre III



รูปนี้ลูกไก่ถ่ายจากสะพาน เดอ ลา คงคอร์ด ซึ่งอยู่ระหว่าง
Assemblée Nationale ( ทำเนียบรัฐบาล ) และ Place de la Concorde

Métro : ลงที่สถานี Invalides, Assemblée Nationale 

สะพาน Alexandre III สร้างในปี 1897 เพื่อเชื่อม
สัมพันธภาพระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซียและเพื่อ เป็น อนุสรณ์แก่ พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่3 แห่งรัสเซีย 
สะพานแห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 3 ปี (ค.ศ. 1897 – ค.ศ.1900 ) และทำพิธีเปิดครั้งแรกในโอกาสวัน เปิดงานมหกรรมโลกในปี ค.ศ. 1900


อีกมุมหนึ่งของสะพาน อเล็กซานเดอร์ที่3 
Café de Flore


Café de Flore เป็นร้านกาแฟที่เก่าแก่มาก เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 1887 อยู่ในย่าน Saint-Germain-des-Prés แซง แจร์ แมง เด เพรส์ ปารีส เขต 6 ถ้าขึ้นเมโทรไปก็สาย 4 ลงที่สถานี Saint-Germain-des-Prés หรือสาย 10 ลงที่สถานี Mabillon แล้วเดินมานิดนึง
ในอดีตเคยเป็นแหล่งชุมนุมของ นักเขียน นักกวี นักการเมือง ชื่อดัง เช่น Apollinaire, Aragon, Malraux
Jean Paul sartre, Marguerite Duras, Juliette Gréco, Boris Vian, Ernest Hemingway

ช่วงหลังๆก็เป็นแหล่งชุมนุมของเหล่าดารานักแสดง ผู้อำนวยการสร้างหนัง ผู้กำกับ … Christian Vadim, Jane Fonda, Roman Polanski, Marcel Carné. Brigitte Bardot, Alain Delon, Belmondo Simone Signoret, Yves Montand
แหล่งชุมนุมนักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง เช่น Yves Saint Laurent, Rochas, , Givenchy, Lagerfeld, Paco Rabanne, Guy Laroche
ปัจจุบันก็ยังมีดารา นักการเมือง นักข่าว ไปจิบกาแฟ จิบแชมเปญ หรือ ไปทานอาหาร อยู่เป็นประจำ อย่าง Bernard-Henri Lévy และภรรยาสุดที่รัก Arielle Dombasle Sonia Rykiel Johnny Depp ….
ตรงข้ามก็มีอีกร้านนึงนะ " Brasserie Lipp " ไฮโซ พอๆกัน


โครงสร้างประโยค

โครงสร้างประโยคในภาษาฝรังเศส

1.ประธาน+ กริยา ที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ
( Sujet+verbe intransitif) เช่น Je travaille / Je voyage / Je marche

2.ประธาน+กริยา+ กรรมหรือส่วนขยาย
( Sujet+verbe+complément ) อาจเป็นกรรมตรง หรือกรรมรองก็ได้

Elle achète un livre. / เธอซื้อหนังสือ
Elle est partie à Londre. / เธอไปลอนดอนแล้ว

ประธาน (sujet) อาจป็น คำนาม สรรพนาม กริยา หรือ ประโยคย่อย

คำนาม ( nom) La maison est au bord de la route. บ้านอยู่ริมถนน

สรรพนาม (pronom) Nous mangeons le gateau.
เรากินขนมกัน

กริยา ( verbe) Nager est bon pour la santé. ว่ายน้ำเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ

ประโยค ( proposition) Qui arrive en retard fait le ménage. ใครมาสายต้องทำความสะอาด

ตำแหน่งของประธานส่วนใหญ่จะอยู่หน้ากริยา แต่อาจอยู่หลังก็ได้ อย่างเช่นในประโยคคำถามที่มีประธาน เป็นคำสรรพนามแทนตัวบุคคล ( pronom personnel) je, tu, il,elle….

Vois-tu ? เธอเห็นมั้ย
Viens-tu ? เธอมามั้ย

กรรมตรง ( Complément d’objet direct) เป็นส่วนขยายกริยาโดยตรงโดยไม่ต้องมีคำบุพบท ( préposition)

Sujet +verbe + COD

Carla mange une poire. / คาร์ลากินลูกแพร์

กรรมตรงนี้อาจเป็น คำนาม สรรพนาม ประโยค หรือ เป็น คำกริยา V. infinitif

Elle mange une pizza . ( คำนาม)
Elle la mange. ( คำสรรพนาม)
Elle pense qu’elle partira demain. ( ประโยค)
Elle veut manger. ( กริยา)

กรรมรอง ( Complément d’objet indirect) เป็นส่วนขยายกริยาโดยมีคำบุพบท( préposition) มาเชื่อม

Sujet + verbe + COI

Je téléphone à ma sœur. / ฉันโทรศัพท์ถึงน้องสาว
Elle parle à sa copine. / เธอพูดกับเพื่อน

นอกจากนี้ก็ยังมีส่วยขยายอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า Complément circonstanciel ซึ่งเป็นตัวขยายกริยาตาม สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อไหร่/ อย่างไร/ ที่ไหน / เพราะอะไร / ด้วยวิธีไหน เช่น

Elle est venue hier / เธอมาเมื่อวานนี้
Elle viendra en train. / เธอจะมาด้วยรถไฟ
Elle viendra dans cet appartement. / เธอจะมาที่อพาร์ตเมนต์แห่งนี้
Elle voyage en avion. / เธอเดินทางโดยเครื่องบิน
 
Le passé composé
Le passé composé (อดีต) ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ้นสุดไปแล้ว เช่น
ฉันได้รับจดหมาย = J’ai reçu une lettre.
เขาไปตลาด = Il est allé au marché.

โครงสร้างของ passé composé ก็คือ Auxiliaire + participe passé

Auxiliaire มีอยู่ 2ตัว คือ V. être กับ V. avoir ผันตามประธานในกาลปัจจุบัน
V. avoir = j’ai, tu as, il a, elle a, ils ont, elles ont, nous avons, vous avez + participe passé
V. être = je suis, tu es, il est, elle est, ils sont, elles sont, nous sommes, vous êtes + participe passé

ส่วนใหญ่เราจะใช้ V. avoir เป็น Auxiliaire แต่ก็มีกริยาอยู่ประมาณ 20 ตัว และกริยาที่เรียกว่า Verbe pronominal หรือ Verbes pronominaux ถ้าเป็นพหูพจน์ ที่เราต้องใช้ V. être เป็น Auxiliaire

Verbes เหล่านี้ก็คือ rester, tomber, rentrer, entrer, partir, repartir, sortir, ressortir, arriver, aller, venir, revenir, survenir, advenir, monter, remonter, descendre, redescendre, mourir, naître
ตัวอย่าง
Il est tombé.
Je suis rentré.
Je suis parti.
Elle est arrivée.
Elle est venue
ส่วน Verbes pronominaux ก็อย่างเช่น se laver, se baigner, se coiffer, se lever
ตัวอย่าง Je me suis lavé, Il s’est levé

เมื่อใช้ V. être ต้องระวัง Accords ให้สอดคล้องกับประธาน( sujet )ด้วย

- ถ้าประธานเป็นเพศหญิงคนเดียวหรือ อย่างเดียวเพราะอาจเป็นสิ่งของ ที่ participe passé เราต้องเติม e เช่น Je suis partie = ฉัน(ผู้หญิง)ไปแล้ว
ถ้า « ฉัน » เป็นเพศชายก็ไม่ต้องต่อเติมอะไร Je suis parti.
อีกตัวอย่างหนึ่ง นาฬิกาผมตก = Ma montre est tombée ประธานคือ นาฬิกา เป็นเพศหญิง

-ถ้าประธานเป็นเพศหญิงพหูพจน์ ให้เติม es ที่ participe passé เช่น Elles sont arrivées. Les portes sont fermées

-ถ้าประธานเป็นเพศชายพหูพจน์ให้เติม s ที่ participe passé เช่น Mes parents sont allés au cinéma.

สรุป :

Sujet /féminin /singulier *** ประธาน / เพศหญิง / เอกพจน์ เติม e
Sujet /féminin / pluriel *** ประธาน / เพศหญิง / พหูพจน์ เติม es
Sujet / masculin / singulier *** ประธาน / เพศชาย / เอกพจน์ ไม่เติมอะไร
Sujet / masculin / pluriel *** ประธาน/ เพศชาย / พหูพจน์ เติม s

Participe passé

-ของ กริยากลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วย é โดยเปลี่ยน er เป็น é เช่น
manger= mangé
chanter= chanté
tomber = tombé

-ของกริยากลุ่มที่ 2 จะลงท้ายด้วย i โดยเปลี่ยน ir เป็น i เช่น
finir = fini
choisir = choisi

-ของกริยากลุ่มที่ 3 ต้องจำเอาหน่อยเพราะไม่มีหลักตายตัว จะลงท้ายด้วย :
U เช่น
courir = couru
venir = venu
descendre = descendu
boire = bu
vouloir = voulu

I เช่น
partir = parti
sortir = sorti
rire = ri
sourire =souri
suivre = suivi

อาจเป็น is, os, us เช่น
prendre = pris
apprendre = appris
asseoir = assis
mettre = mis
dissoude = dissous
inclure = inclus

T อาจเป็น ait, int, it, ort, ert …

- V. กลุ่มที่ลงท้าย ire เราจะเปลี่ยนเป็น it เช่น
dire = dit
écrire = écrit
faire = fait
frire = frit

- V. กลุ่มที่ลงท้าย indre เราจะเปลี่ยน dre เป็น เช่น
craindre = craint
joindre = joint
peindre =peint

-V. กลุ่มที่ลงท้าย uire เราจะเปลี่ยน uire เป็น uit เช่น
Conduire = conduit,
construire = contruit,
cuire = cuit,
détruire = détruit

- V. กลุ่มที่ลงท้าย rir เราจะเปลี่ยน ert เช่น
Couvrir = couvert
ouvrir = ouvert
offrir = offert
souffrir = souffert
ประโยคในภาษาฝรั่งเศส

ประโยคในภาษาฝรั่งเศส (Les phrases)

1.Les phrases déclaratives ประโยคบอกเล่า ธรรมดา เช่น « วาสนากลับเมืองไทยปีนี้ » «Wasana part en Thailande cette année. Vanessa mange un gateau.

2.Les phrases interrogatives ประโยคคำถาม ใช้ตั้งคำถามและต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายคำถาม « ? » หรือที่ภาษาฝรั่งเศสเขาเรียกว่า « Point d’interrogation »
คำถามที่ต้องการคำตอบ oui หรือ non เราสามารถสร้างประโยคคำถามได้หลายแบบ

-ใช้ประโยคบอกเล่าธรรมดาโดยขึ้นเสียงสูงตอนท้ายประโยค

Vanessa part en Thaïlande cette année ?
วาเนสสากลับเมืองไทยหรือเปล่าปีนี้

-ใช้ « Est-ce que » นำหน้าประโยคบอกเล่า
Est-ce que Vanessa part en Thaïlande cette année ?

-สับที่ ประธานและ กริยา
Pars-tu en Thaïlande ? เธอกลับเมืองไทยหรือเปล่า

-เพิ่มสรรพนามของประธาน
Vanesa mange-t-elle un gateau ? elle ก็คือ Vanessa และจะเพิ่มตัว « t » อีกตัวหนึ่ง เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น

ส่วนการสร้างประโยคคำถามอื่นๆ ก็จะใช้คำเหล่านี้นำหน้าประโยค qui,que, quand, pourquoi, combien, comment, où….etc

Où allons-nous ? เราจะไปไหนกัน
Combien ça coûte ? ราคาเท่าไหร่

3.Les phrases exclamatives ประโยคอุทานที่บ่งบอกอารมณ์ (รัก เศร้า เสียใจ ประหลาดใจ ….) จบท้ายประโยคด้วยเครื่องหมาย « ! » เช่น
Que tu es belle ! เธอช่างสวยอะไรอย่างนี้
Quelle chaleur ! ร้อนอะไรอย่างนี้/

4.Les phrases impératives ประโยคคำสั่ง จบท้ายด้วยเครื่องหมาย « ! » หรือ « . »

Prête-moi ton stylo. ให้ฉันยืมปากกาหน่อยซิ
Prenez le parapluie เอาร่มไปสิคุณ

ส่วนประโยคปฏิเสธ จะใช้ ne...pas / ne..jamais/ne…rien/ne..plus …etc

Ex. Elle ne travaille pas. = หล่อนไม่ทำงาน
Je ne parle pas français. ฉันไม่พูดภาษาฝรั่งเศส
Je ne veux rien. = ฉันไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น
Je ne veux plus ce cadeau. = ฉันไม่อยากได้มันอีกแล้วของขวัญชิ้นนี้
Je ne fais jamais du sport. = ฉันไม่เคยเล่นกีฬาเลย
 
อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต

ไมใช่ชีวิตของลูกไก่หรอกนะคะ แต่เป็นการใช้ Tense หรือที่ภ.ฝรั่งเศสเขาเรียกว่า « Temps » หรือ « กาล » เราจะรู้ได้ทันทีว่า เหตุการณ์ในประโยคหนึ่ง นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ เมื่อวาน หรือพรุ่งนี้ โดยดูจาก
« กาล » ของ กริยาในประโยคนั้นๆ นอกเหนือจากคำช่วยตัวอื่นที่ขยายประโยคให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น

1.Présent หรือกาลปัจจุบัน

โดยทั่วไปแล้วบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นขณะที่พูด
ฉันอาบน้ำ / Je prends une douche
ฉันหิว / J’ai faim

นอกจากนี้ le présent ยังใช้กับ ;

-เหตุการณ์หรือสิ่งที่เป็นจริงโดยทั่วไป เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก / Le soleil se lève à l’est.

- ใช้ในการเล่าเรื่อง เหตุการณ์ในอดีต (บอกให้รู้ไว้เฉยๆ แต่ในชีวิตประจำวันจริงๆไม่ค่อยได้ใช้หรอกค่ะ

- ใช้กับการกระทำที่เป็นกิจวัตร เช่น เขาทานอาหารเย็นตอนสองทุ่ม / Il dîne à 8 heures.

- ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่แน่ใจว่าต้องเกิดขึ้นแน่ๆ เช่น
Je reviens dans cinq minutes. / อีกห้านาทีฉันจะกลับมา

2. Passé / อดีต 

2.1 Imparfait 

-ใช้เล่าหรือบรรยายเหตุการณ์ในอดีตโดยไม่เจาะจงเวลา เช่น เล่าเหตุการณ์สมัยเด็กๆ

Quand j’étais petite, J’habitais avec mes parents dans une petite maison au pied de la montagne, …….
สมัยที่ฉันยังเด็ก ฉันอาศัยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ในบ้านหลังเล็กๆไกล้ตีนเขา………

-ใช้เมื่อมีสองเหตุการณ์เกิดขึ้น ในอดีต เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่แล้วมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเข้ามาแทรก
เช่น เมื่อวานนี้ขณะที่ฉันกำลังปั่นจักรยานอยู่ ทันใดนั้นลูกหมาตัวหนึ่งก็วิ่งตัดหน้า

Hier je roulais sur mon vélo, tout un coup un petit chien m’a coupé la route.

จะสังเกตุเห็นว่าเหตุการณ์แรกที่ใช้ Imparfait เกิดขึ้นยาวนานกว่าเหตุการณ์ที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็จบทันที

2.2 Passé composé ใช้กับเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทันทีทันใดในเวลาที่เจาะจง

Hier soir, j’ai téléphoné à une amie. / ฉันโทรศัพท์ไปหาเพื่อนเมื่อวานนี้

Avant-hier, je suis allée au bois en vélo.
เมื่อวานซืนฉันขี่จักรยานไปเที่ยวสวน.

2.3 Plus-que-parfait บอกเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งในอดีตเช่นกัน และใช้กับ ประโยคเงื่อนใข ใช้น้อยค่ะ tense นี้

Si j’avais su, je ne serais pas parti./ ถ้าฉันรู้ ฉันคงไม่ไปหรอก

3.Futur / อนาคต

3.1 Futur simple บอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

J’irai te chercher à l’aéroport. / ฉันจะไปรับเธอเองที่สนามบิน
Je partirai en vacances le 15 juillet. / ฉันจะไปพักร้อนวันที่ 15 กรกฎาคม

3.2 Futur proche /ใช้กับ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้

Je vais me laver. / ฉันไปอาบน้ำแล้วล่ะ
Tu vas partir ?เธอจะไปแล้วหรือ

3.3Futur antérieur / ใช้บอกเหตุการณืในอนาคตที่เกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งในอนาคตเช่นกัน
Dès que tu auras fini ta valise , nous partirons / เราก็จะไปกันในทันทีที่เธอจัดกระเป๋าเสร็จ 
การผัน กริยาให้ถูกต้องตามประธาน ในภาษาฝรั่งเศสนั้นจำเป็นมาก และค่อนข้างยากสำหรับคนไทยซึ่งใน ภาษาเรานั้นไม่มีการผันกริยา เราใช้ « กิน » ตลอดโดย ไม่มีการเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาตามประธานเหมือน « manger » ที่ต้องบอกว่า

Je(ฉัน) mange
tu(เธอ) manges
nous(พวกเรา) mangeons
vous(คุณ/พวกคุณ) mangez
elles(พวกหล่อน) mangent

แต่ถ้าเรารู้หลักการผันแล้ว จะไม่ยากเลยค่ะ จะยากนิดนึงก็ตรง Verbe ที่ไม่ปกติ ที่ผันไม่เหมือนชาวบ้านเขา ซึ่งอันนี้ต้องท่องจำเอาอย่างเดียว แถมเป็น Verbe ที่ต้องใช้บ่อยๆด้วย อย่างเช่น V. aller, être. avoir

ในภาษาฝรั่งเศสเราจะแบ่งคำกริยา( Verbe) เป็น 3 กลุ่ม

1.กลุ่มที่1 ที่ Infinitif ( V.,ที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายด้วย
–er เช่น V. manger, chanter, danser,parler

2.กลุ่มที่ 2 V. ที่ลงท้ายด้วย –ir เช่น choisir, finir, atterrir, applaudir เมื่อผันกับ Nous จะลงท้ายด้วย issons เช่น Nous finissons

3.กลุ่มที่ 3 V. ที่เหลือที่ลงท้ายด้วย –re, oir, -ir
V.ที่ลงท้ายด้วย -ir เช่น bouillir, courir, dormir, ouvrir, mentir เหมือนกลุ่มที่ 2 แต่ผันไม่เหมือนกัน เช่น V. , courir,sortir เมื่อผันกับ Nous จะลงท้ายด้วย ons เช่น Nous courons
V. ที่ลงท้ายด้วย -oir เช่น pleuvoir, pouvoir, voir, savoir
V. ที่ลงท้ายด้วย -re เช่น boire, croire, mettre, coudre

ทีนี้ก็มาดูหลักการผันกันเลยนะคะ

กลุ่มที่ 1 V. ที่ลงท้ายด้วย -er เช่น parler เราจะตัด « er » ทิ้ง เหลือแต่ส่วนราก « parl » หรือที่ภาษาฝรั่งเศสเขาเรียกว่า « le radical » ส่วนที่มาเติมหลัง « radical » เขาจะเรียกว่า « les terminaisons » ซึ่งมีดังนี้

Présentกาลปัจจุบัน « -e, -es, -e, -ons, -ez, -ent » ตามลำดับประธาน « je, tu , il-elle, nous, vous, ils-elles
ก็จะได้ว่า Je parle, tu parles, il parle, nous parlons, vous parlez, ils parlent.

ข้อยกเว้น Verbes irréguliers หรือ กริยาไม่ปกติบางตัวที่มีการผันต่างกันเล็กน้อย เช่น
Verbe ที่ลงท้ายด้วย ;

« -cer » ต้องเปลี่ยน « c »เป็น «ç » ( cédille) เมื่อผันตามประธานแล้วมีสระ « o » และ « a » ตามหลัง เช่น V. lancer
Je lance, tu lances, il lance, nous lançons, vous lancez,ils lancent


« -ger » ต้องเพิ่ม « e » หลัง « g » เมื่อมีสระ «o » และ « a » ตามหลัง เช่น v. manger
Nous mangeons

«- eler »หรือ « -eter » ต้องเปลี่ยน « e » เป็น « è » เมื่อผันแล้วลงท้ายด้วย « -e, -es, -ent » เช่น
V. peler : je pèle, tu pèles, il pèle,
nous pelons, vous pelez จะไม่เปลี่ยน

แต่ V. appeler, jeter จะเพิ่ม « l , t » อีกตัวนึง
J’appelle, tu appelles, il appelle, nous appelons, vous appelez

« -yer » ต้องเปลี่ยน « y »เป็น « i » เมื่อมี « e » ตามหลัง เช่น V. appuyer
Appuyer : j’appuie, tu appuies, il appuie, ils appuient

nous appuyons, vous appuyez จะไม่เปลี่ยน

หลักไวยากรณ์


กริยาในภาษาฝรั่งเศส
VERBE EN FRANCAIS
verbe หรือ v. (แว๊บ) = กริยา

v. etre (แว๊บ แอ็ทเทรอะ) = เป็น,อยู่, คือ (v. to be)
ประธาน + v. etre คำอ่าน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
Je suis เชอ ซุย ฉัน เป็น, อยู่, คือ I am
Tu es ตู เอ เธอเป็น, อยู่, คือ You are
Il, Elle est อิล เล, แอล เล เขา หรือ หล่อนเป็น, อยู่, คือ He, she, it is
Nous sommes นู ซอม พวกเราเป็น, อยู่, คือ We are
Vous etes วู แซ็ต คุณ,พวกเธอ,พวกเราเป็น, อยู่, คือ You are
Ils, Elles sont อิล ซง, แอล ซง พวกเขา หรือ พวกหล่อนเป็น, อยู่, คือ They are
คุณจะสังเกตได้ว่า verbe จะกระจายไปตามประธานแต่ละตัว ยกเว้น il กับ elle จะกระจายเหมือนกัน
ils กับ elles จะกระจายเหมือนกัน
เช่น Je suis etudiant. (เชอ ซุย เอตุดิยอง) = ฉันเป็นนักเรียน I'm a student.
Tu es professeur. (ตู เอ โพค์เฟสเซอค์) = เธอเป็นคุณ You are a teacher.
Il est mon pere. (อิล เล มง แปค์) = เขาเป็นพ่อของฉัน He is my father.
Elle est ma mere. (แอล เล มา แมค์) = หล่อนเป็นแม่ของฉัน She is my mother.
Nous sommes thailandais. (นู ซอม ไตลองเด) = พวกเราเป็นคนไทย We are Thai.
Vous ?tes francais. (วู แซ็ต ฟคองเซ) = คุณเป็นคนฝรั่งเศส You are French.
Ils sont chez* Anne. (อิล ซง เช อาน) = พวกเขา

ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น ตอน คำทักทาย และคำนาม


คำทักทาย
Bonjour                            สวัสดี
Comment allez-vous ?         คุณสบายดีไหม?
Je vais bien, marci.             ฉันสบายดี ขอบคุณ
Au revoir                          แล้วเจอกัน
A tout à l'heure                 อีก (สักพักหนึ่ง) เจอกัน
ในกรณีที่คู่สนทนาเป็นคนสนิท หรือเพื่อนฝูงที่มีอายุหรือระดับเท่าเทียมกัน อาจทักทายด้วยประโยคอย่างไปเป็นทางการ ดังนี้
Tu vas bien?                     คุณสบายดีไหม? (คู่สนทนาเป็นเอกพจน์ หรือบุคคลคนเดียว)
Vous allez bien?                 คุณสบายดีไหม? (คู่สนทนาเป็นพหูพจน์ หรือบุคคลหลายคน)
Ça va / Ça va bien              สบายดี
Ça mal / Je suis malade       ไม่ค่อยสบาย

คำนาม (Nom)
ในภาษาฝรั่งเศส คำนามจะมีเพศเป็นของตัวเอง ได้แก่ เพศหญิงและเพศชาย ในภาษาฝรั่งเศสสามารถแบ่งคำนามได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Nom masculin singulier  คำนามเพศชายเอกพจน์
2. Nom masculin plurial     คำนามเพศชายพหูพจน์
3. Nom f éminin singulier   คำนามหญิงเอกพจน์
4. Nom féminin pluriel      คำนามหญิงพหูพจน์

คำนำหน้านาม
ีUn   ใช้นำหน้านำนามเพศชาย (ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง)
Une ใช้นำหน้าคำนามเพศหญิง (ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง)
Le   ใช้นำหน้าคำนามเพศชาย (เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง)
La    ใช้นำหน้าคำนามเพศหญิง (เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง)
Les  ใช้นำหน้าคำนามพหูพจน์ทุกเพศ (ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง)
Des  ใช้นำหน้าคำนามพหูพจน์ทุกเพศ (เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง)
ตัวอย่าง
une famille    ครอบครัว
un enfant     เด็ก ลูก
une masion   บ้าน
un livre         หนังสือ
les parents    พ่อแม่ (คำนามพหูพจน์)
la stylo         ปากกาแท่งนั้น (คำนามเฉพาะเจาะจง)

การทำความรู้จัก

Bonjour à tous บงชู อา ตุส สวัสดีทุกๆคน 
Comment allez-vous? กอมมอง ตาลเล่ วู เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีหรือ ( เพื่อความสุภาพ ) 
Comment vas-tu? กอมมอง วา ตู เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีหรือ 
Bien, merci et vous?( et toi?) เบียง แมกซี่ เอ่ วู (เอ่ ตั๋ว ) ก็สบายดี ขอบคุณ และคุณละ ( และเธอละ) Comment vous appelez-vous? กอมมอง วู ซับเป้ลเล่ วู คุณชื่ออะไร ( เพื่อความสุภาพ ) 
Comment t'appelles-tu? กอมมอง ตับเป่ล ตู เธอชื่ออะไร 
Je m'appelle Jitaree เชอ มับเป่ล จิตอารีย์ ฉันชื่อ จิตอารีย์ 
Laisse-moi vous (te) présenter à Stephen แลสเส่ มัว วู ( เตอ ) เพร่ซองเต้ อา สตีเว่น ให้ฉันแนะนำคุณ ( เธอ ) แก่สตีเว่น 
Enchanté (e) อองชองเต้ ยินดีที่ได้รู้จัก 
Je ne parle pas très bien français เชอ เนอ ปาล ป่ะ แทร์ เบียง ฟองเซ่ ฉันพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ค่อยได้ Venez (Viens) faire la connaissance de Somchai เวอนเน่ ( เวียน ) แฟร์ ลา กอนแนสซอง เดอ สมชาย มาทำความรู้จักกับสมชายสิ 
D'ou venez-vous? ( D'ou viens-tu? ) ดุ๋ เวอนเน่ วู ( ดุ๋ เวียน ตู ) คุณมาจากไหน ( เธอมาจากไหน ) 
Je viens de la Thaïlande เชอ เวียน เดอ ลา ไตลอง ฉันมาจากประเทศไทย 
Quel âge avez-vous? ( Quel âge as-tu? ) แกล ลาส อาแว่ วู ( แกล ลาส อา ตู ) คุณอายุเท่าไร ( เธออายุเท่าไร ) 
J'ai 18 ans เช ดิสวิท ตอง ฉันอายุ 18 
Je suis professeur de l'université / secrétaire เชอ ซุย โพสเฟสเซอร์ เดอ ลุนิแวซิเต้ / เซอเคร่แต ฉันเป็นอาจารย์สอนอยู่มหาวิทยาลัย / เป็นเลขา 
Je suis marié(e) / célibataire / divorcé(e) เชอ ซูย มาคริเย่ / เซลิแบแต / ดิวอกเซ่ ฉันแต่งงานแล้ว / โสด / หย้า 
Je ne fume pas เชอ เนอ ฟูม ป่ะ ฉันไม่สูบบุหรี่ 
Est-ce que vous vous êtes déjà rencontrés ? แอสเซอเกอะ วู วู แซท เดช่า ครองก่องเทร่ พวกคุณเคยเจอกันแล้วหรือ Voici mon ami วัวซิ มง นามี นี่เพื่อนของฉัน 
Dans quelle ville habitez-vous en Thaïlande? ดอง แกล วีล อาบิเต้ วู ออง ไตลอง คุณอยู่จังหวัดไหนในเมืองไทย ( เพื่อความสุภาพ ) 
Dans quelle ville habites-tu en Thaïlande? ดอง แกล วีล อาบิท ตู ออง ไตลอง เธออยู่จังหวัดไหนในเมืองไทย ( สำหรับคนสนิท ) 
J'habite à Bangkok ชาบิท อา บางกอก ฉันอยู่ที่กรุงเทพฯ 
Quand avez-vous votre anniversaire? กอง อาเว่ วู โวท อานิแวแซ วันเกิดคุณวันที่เท่าไร่ ( เพื่อความสุภาพ ) 
Quand as-tu ton anniversaire? กอง อา ตู ตง อานิแวแซ วันเกิดเธอวันที่เท่าไหร่ ( คนสนิท ) 
Le 4 juillet เล กรัทร์ ชุยเย่ วันที่ 4 กรกฏา 
Êtes-vous merié (e) ? (Es-tu merié (e) ? ) อาเว่ วู มาริเย่ (อา ตู มาริเย่) คุณแต่งแล้วหรือยัง 
Non, je suis celibataire นง, เชอ ชุย เซลิแบแต ยัง ฉันยังโสด Oui, je suis déjà marié (e) หวี, เชอ ซุย เดช่า มาริเย่ ฉันแต่งงานแล้ว 
Que faites-vous dans la vie? ( Que fais-tu dans la vie? ) เกอะ แฟท วู ดอง ลาวี (เกอะ แฟ ตู ดอง ลาวี) คุณทำอาชีพอะไร 
Quelle est votre ( ta ) profession ? แกล เล โวท (ตา) โพรเฟสซิยง คุณทำอาชีพอะไร 
Je suis étudiant (e) / au chômage / infirmière เชอซุย เอตุดิย้อง / โอ โชมาช / แองฟิแยมมิแย ฉันเป็นนักศึกษา / ตกงาน, ไม่มีงานทำ / นางพยาบาล 
Quelle école fréquentez-vous ? ( Quelle école fréquentes-tu? ) แกล เลกอล เฟรกองเต้ วู (แกล เลกองเฟรกอง ตู) คุณเรียนอยู่ที่ไหน 
Je suis au lycée / à l'université เชอ ซุย โอ ลีสเซ่ / อา ลุนิแวซิเต้ ฉันเป็นนักเรียนมัธยม / มหา'ลัย

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (อังกฤษSeven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน


เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

  1. มหาพีระมิดแห่งกีซา ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
  2. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอีรัก
  3. เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
  4. วิหารอาร์เทอมีส (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  5. สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  6. เทวรูปโคโลสซูส ในทะเลเอเจียน ประเทศกรีก เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ของสุริยเทพ หรือเฮลิเอิส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
  7. ประภาคารฟาโรส แห่ง อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันมีป้อมขนาดเล็กอยู่บนซากที่เหลือ

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง

  1. โคลอสเซียม สนามกีฬาแห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี
  2. หลุมฝังศพแห่งอะเล็กซานเดรีย สุสานใต้ดินเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
  3. กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
  4. สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษ
  5. เจดีย์กระเบื้องเคลือบ เมืองหนานกิง ประเทศจีน
  6. หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี
  7. สุเหร่าโซเฟีย แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ กรุงอีสตันบูล) ประเทศตุรกี

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน

กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้
  1. อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล ประเทศอังกฤษ-ฝรั่งเศส
  2. ซีเอ็น ทาวเวอร์ ประเทศแคนาดา
  3. เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล-ปารากวัย
  4. ตึกเอ็มไพร์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  5. เดลต้า เวิร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
  6. สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  7. คลองปานามา ทวีปอเมริกาใต้

เกาะบาหลี



    เกาะบาหลี ได้รับการขนานนามว่า อัญมณีแห่งมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะชวา บาหลีเป็นเกาะเล็กๆ ที่มีความยาวจากหัวเกาะถึงท้ายเกาะประมาณ  150 กิโลเมตร  อยู่ติดกับเกาะชวา มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน บาหลีได้ฉายาว่าเกาะมรกต เพราะมีต้นไม้เขียวขจีไปทั้งเกาะ เนื่องจากได้รับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมไว้ดีเยี่ยม มีกฏหมายไม่ให้ปลูกสิ่งก่อสร้างที่เป็นสิ่งแปลกปลอมจากธรรมชาติ โดยอาคารที่สร้างจะสูงกว่า 15 เมตรไม่ได้ บาหลีเป็นตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการดูแลรักษาเอาไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด ธรรมชาติที่บริสุทธิ์เป็นเสน่ห์ของบาหลี ที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากไปชมกัน
ความหลากหลายและมนต์เสน่ห์ของเกาะบาหลี ถูกขนานนามมากมายว่าเป็น เกาะแห่งพระเจ้าบ้าง เป็นจุดรุ่งอรุณของโลกบ้าง ทั้งหมดนี้ เกิดจากความประทับใจของผู้ที่เคยไปเยือน
                ประวัติของเกาะบาหลีมีอยู่ว่า เจ้าหญิงมเหนทราดัตตา (Princess Mahendratta) แห่งชวาตะวันออก ทรงอภิเษกสมรสกับกษัตริย์บาหลีพระนามว่าพระเจ้าอุดายัน (KingUdayana) ทั้งสองมีโอรสชื่อเจ้าชายเองา (Erlangga) ซึ่งต่อมาได้ปกครองเกาะชวา เจ้าชายส่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไปปกครองเกาะบาหลี ครั้นถึงปี ค.ศ. 1343 ชวาตะวันออกต้องอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์มัชปาหิต ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ชาวอินโดนีเซียยุคนั้น จึงหันมาบูชาเทพเจ้าตามหลักศาสนาฮินดู ในศตวรรษที่ 15 พ่อค้าชาวอินเดียนำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ ศาสนาอิสลามเติบโตขึ้น จนชาวอินโดนีเซียที่เป็นมุสลิม มีจำนวนมากขึ้น ชาวเกาะชวาที่นับถือศาสนาฮินดู จึงหนีไปอยู่ที่เกาะบาหลี เมื่อโปรตุเกสกับดัตช์เข้ามารุกรานอินโดนีเซีย นักล่าอาณานิคมทั้งสองประเทศ ไม่สนใจและไม่รู้จักบาหลี ทั้งๆ ที่ชาวดัตช์ ขนทาสที่เอามาทำไร่ชาและกาแฟ มาขึ้นบกที่หาดคูต้าของเกาะบาหลี ในศตวรรษที่ 18 ดัตช์กลัวว่าอังกฤษจะเข้ามายึดครองหมู่เกาะแถวนี้ จึงส่งกองทหารออกสำรวจและยึดหัวเมืองตามเกาะต่างๆ เป็นเมืองขึ้นของดัตช์ กองเรือดัตช์กับทหาร 7000 นาย ยกกำลังมาที่เกาะบาหลี ชาวเกาะต่อสู้อย่างกล้าหาญด้วยอาวุธที่ล้าสมัย ในการรบครั้งนั้นทหารดัตช์ สังหารชาวบาหลีตายไปหลายหมื่นคน กษัตริย์บาหลีในเวลานั้นชื่อ พระเจ้าการังกาเสม (Raja Karanggasem) แม้จะสู้ไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เมื่อจวนตัวเข้าที่คับขัน พระองค์กับสมาชิกภายในพระราชวงศ์ทั้งหมดก็ตัดสินใจทำพิธีปูปูตัน (Puputan) คือสู้จนตัวตาย ด้วยการพร้อมใจกันฆ่าตัวตามหมู่ ไม่ยอมถูกจับเป็นเชลยของชาวดัตช์ ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย จารึกการฆ่าตัวตายหมู่ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1906 เกิดการจลาจลขึ้นที่เมืองกลุงกุง ดัตช์ส่งกำลังทหารเข้าล้อมปราบผู้ก่อการจลาจลอย่างโหดร้าย จนกลายเป็นสงครามย่อยๆ ระหว่างดัตช์กับชาวบาหลี เมื่อชาวเกาะพ่ายแพ้ เจ้าผู้ครองนครกลุงกุงทรงนำพระราชวงศ์และข้าราชบริพารที่จงรักภักดี พร้อมด้วยชาวเกาะบาหลีจำนวนหนึ่ง ทุกคนแต่งกายด้วยชุดขาวล้วน พร้อมใจกันทำพิธีปูปูตัน โดยกษัตริย์มอบกริชประจำพระองค์ให้นักบวชของราชสำนักใช้กริชนั้นแทงพระองค์เป็นคนแรก จากนั้นพวกที่เหลือก็ทำการสังหารกันเอง เป็นการฆ่าตัวตายตามพิธีปูปูตัน คาดว่าในครั้งนั้น มีคนตายไปเกือบ 2000 คน หลังจากนั้นได้ไม่นานดัตช์จึงมีอำนาจเหนือเกาะบาหลีโดยเด็ดขาด