วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


จอร์จ เฟอร์ริส ผู้ให้กำเนิดชิงช้าสวรรค์ (Ferris Wheel)

14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์แท้ๆ แต่ก็เป็นวันเกิดของ จอร์จ เฟอร์ริส George Washington Gale Ferris, Jr. เช่นกัน 
Doodle จอร์จ เฟอร์ริส George Washington Gale Ferris, Jr. By Google
ประวัติ
จอร์จ เฟอร์ริส เกิด 14 กุมภาพันธ์ 1859 และเสียชีวิตวันที่ 22 พฤศจิกายน 1896 เริ่มต้นอาชีพอย่างจริงๆ จังๆ ในอุตสาหกรรมทางรถไฟ และ มีความสนใจเรื่องการสร้างสะพาน 
จอร์จ-เฟอร์ริส-George-Ferris-02.png

ผลงานโดดเด่น
ส่วนผลงานที่โดดเด่นของเขา ก็คือ การเสนอสร้างวงล้อขนาดใหญ่ ที่หมุนได้ หรือ ชิงช้าสวรรค์นั่นเอง โดยสร้างให้มีขนาดใหญ่ สูง เมื่อขึ้นไปแล้ว สามารถมองลงมาเห็นบริเวณงานทั้งหมดได้ทั่ว ความคิดนี้ ทำให้หลายคนนั้นกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย เพราะไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน แต่จอร์จ เฟอร์ริส ก็ไม่ท้อถอย เพราะเขาได้สร้างความมั่นใจให้กับสิ่งนี้ด้วย การลงรับรองความปลอดภัยจากวิศวกร
จอร์จ-เฟอร์ริส-George-Ferris-01.png
เขาเป็นผู้สร้าง ชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่หรือที่เรียกกว่าferris wheel เป็นคนแรก จากงาน World's Columbian Exposition.
โดยก่อนหน้านี้ชิงช้าทั่วไปมีชื่อเรียกกว่า Fairy wheel ซึ่งมีความสามารถจุคนได้ไม่เท่าไหร่ (ถ้าเทียบกันแล้วก็เหมือนชิงช้างานวัดบ้านเรา) ต่างจาก ferris wheel หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกกว่า observation wheel ซึ่งตัวของ กระเช้า จะจุคนได้มากขึ้น
Ferris wheel ถูกสร้างขึ้นในงาน World's Columbian Exposition เพื่อทำให้เป็นจุดสนใจจากผู้คน มีความสูงถึง 80.4 เมตร โดยสามารถจุคนได้ถึง 2,160 คนต่อการบรรจุเต็มจำนวน  ferris wheel เป็นต้นแบบของชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ ที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้ จอร์จ เฟอร์ริส เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งวงการ ชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ เลยก็ว่าได้

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


Alcatel

     มือถือ Alcatel เป็นของ Alcatel-Lucent ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ด้าน telecommunications equipment ซึ่งในสารการผลิตมือถือนั้นจะลงทุนร่วมกับ TCL ของจีน
ว่ากันตามตรง ... คุณภาพและความสดใสของจอยี่ห้อนี้มักจะด้อย ไม่ค่อยอลังการเหมือนเกาหลีญี่ปุ่น แต่ที่เด่นมากๆคือเรื่องความเบาที่เบากันทุกรุ่น ( แม้แต่รุ่นที่เคยแค่จับๆก็รู้สึกว่าเบา ยกเว้นรุ่น Club ตัวแรกที่หนักนิดหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นน้ำหนักเฉลี่ยของยุคนั้น ) ... คุณภาพการประกอบ ดูจะใช้วัสดุด้อยค่าไปนิด เมื่อเทียบกับราคาก็ไม่ขี้เหร่ แต่ทนทาน หากจะมีปัญหามักจะเป็นที่แบตเตอรี่ ซึ่งหากอยากเก็บไว้ใช้นานๆก็แนะนำให้ซื้อแบตฯเก็บไว้ที่บ้านซักอันเพราะมีสิทธิ์พังก่อนอย่างแรก 

ตำนานแห่งซิลมาริล





ตำนานแห่งซิลมาริล (อังกฤษThe Silmarillion) เป็นนิยายแฟนตาซีระดับสูง แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.1917 และมีการเขียนเพิ่มเติมมาโดยตลอด จนเมื่อ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน สิ้นชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1973 วรรณกรรมเรื่องนี้ก็ยังเขียนไม่เสร็จ และยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
คริสโตเฟอร์ โทลคีน บุตรชายคนที่สามของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ได้สานต่องานประพันธ์ของพ่อ โดยรวบรวมงานเขียนที่ยังคั่งค้างอยู่ ทั้งส่วนที่เขียนรายละเอียดแล้ว และส่วนที่มีเพียงแนวคิด โครงเรื่อง มาประพันธ์ต่อจนสำเร็จสมบูรณ์ เดอะ ซิลมาริลลิออน จึงได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1977
เนื้อหาในตำนานแห่งซิลมาริล เกี่ยวกับตำนานการสร้างโลก และเหตุการณ์ในยุคที่หนึ่งและยุคที่สอของโลกอาร์ดา ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลายพันปีก่อนถึงยุคสมัยในเรื่องเดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งอยู่ในยุคที่สาม

โครงเรื่องตำนานแห่งซิลมาริล

ไอนูลินดาเล และวาลาเควนตา

ดูบทความหลักที่ ไอนูลินดาเล และ วาลาเควนตา
ไอนูลินดาเล เป็นเนื้อหาส่วนแรกของหนังสือ ตำนานแห่งซิลมาริล เล่าถึงเหตุการณ์การสร้างโลกในลักษณะตำนาน กล่าวคือ อิลูวาทาร์ ("พระบิดาแห่งสรรพสิ่ง") ทรงสร้างไอนัวร์ขึ้นก่อนทุกสิ่ง เป็นดวงจิตที่ถือกำเนิดขึ้นจากดำริ หรือความคิดของพระองค์เอง จากนั้นอิลูวาทาร์ทรงแสดงดนตรีให้เหล่าไอนัวร์ชม แล้วโปรดให้พวกเขาบรรเลงดนตรีให้พระองค์ฟังบ้าง การบรรเลงดนตรีของเหล่าไอนัวร์นี้เรียกว่า "มหาคีตาแห่งไอนัวร์" (คำแปลของ ไอนูลินดาเล) ในระหว่างการบรรเลงนั้น เมลคอร์ ไอนัวร์องค์หนึ่งคิดอยากบรรเลงตามใจตัวเอง ทำให้เสียงดนตรีเพี้ยนผิดพลาดไปหมดจนล่มลง แต่องค์อิลูวาทาร์ทรงสำแดงฤทธิ์เป็นเสียงดนตรีไม่สิ้นสุด แล้วจากนั้นจึงแสดงภาพของโลกอาร์ดา ให้เหล่าไอนัวร์ได้เห็น โลกอาร์ดานั้นคือสิ่งที่บังเกิดขึ้นจากการบรรเลงดนตรีนั่นเอง
จากนั้นอิลูวาทาร์จึงสร้าง เออา หรือโลกอาร์ดาขึ้นให้เป็นจริง แล้วโปรดให้เหล่าไอนัวร์ที่ทรงพลังอำนาจ ลงไปสถิตอยู่ในโลกนั้น เพื่อสร้างโลกให้เป็นไปตามที่พวกเขาได้บรรเลงบทเพลงเอาไว้ เหล่าไอนัวร์ที่ลงมาในโลก กลุ่มที่มีฤทธิ์มากเรียกว่า วาลาร์ กลุ่มที่มีฤทธิ์รองลงมา เรียกว่า ไมอาร์ พวกเขาทั้งหมดพากันสร้างโลกให้พร้อมรอรับการมาถึงของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ โดยที่มีเมลคอร์คอยขัดขวางการก่อสร้างอยู่ตลอด
บท วาลาเควนตา เป็นเนื้อหาส่วนที่สองของหนังสือ กล่าวถึงรายละเอียดของวาลาร์ทั้ง 14 พระองค์ และรายละเอียดของไมอาร์องค์สำคัญบางองค์ สุดท้ายกล่าวถึงเทพอสูรเมลคอร์ คือไอนัวร์ที่จิตใจหันไปสู่ความชั่วร้าย กับบรรดาไมอาร์ที่ยอมเป็นสมุนของเขา เช่นเซารอน และบัลร็อก

เควนตา ซิลมาริลลิออน

ดูบทความหลักที่ เควนตา ซิลมาริลลิออน
คำว่า เควนตา (quenta) หมายถึง ตำนาน ส่วน ซิลมาริลลิออน (silmarillion) ประกอบจากคำว่า silmarilli และ -on โดยที่ silmarilli หมายถึง silmarils (คือรูปพหูพจน์ของ silmaril) ส่วน -on หมายถึง of the (ว่าด้วย) ดังนั้น Quenta Silmarillion จึงหมายถึง ตำนานว่าด้วยเรื่องของดวงมณีซิลมาริล
ซิลมาริล (หรือซิลมาริลลิในรูปพหูพจน์) คือดวงมณีสามดวงที่เฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ ชาวโนลดอร์ ประดิษฐ์ขึ้น แต่ถูกมอร์กอธขโมยไปหลังจากสังหารกษัตริย์ฟินเว บิดาของเฟอานอร์ เฟอานอร์กับโอรสทั้งเจ็ดและชาวโนลดอร์จึงติดตามไล่ล่าเพื่อล้างแค้น เรื่องราวส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเกี่ยวกับการทำสงครามของพวกเอลฟ์กับมอร์กอธในแผ่นดินเบเลริอันด์ เพื่อชิงซิลมาริลกลับคืน
เควนตา ซิลมาริลลิออน ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 24 บท ในจำนวนนี้ เรื่องที่ถือว่าเป็นเอกในตำนานซิลมาริลลิออน ได้แก่

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

“ออลลองด์” ประธานาธิบดีใหม่ฝรั่งเศส ผู้กุมอนาคตวิกฤตหนี้ยูโรโซน

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ทำเนียบผู้นำฝรั่งเศสเพิ่งได้สมาชิกใหม่มาสดๆ ร้อนๆ เมื่อฟรังซัวส์ ออลลองด์ นักการเมืองจากพรรคโซเชียลลิสต์ เอาชนะ นิโกลาส์ ซาร์โกซี ผู้นำคนปัจจุบัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองไปอย่างไม่พลิกความคาดหมาย เมื่อวันอาทิตย์ (6) ที่ผ่านมา โดยนอกจากออลลองด์จะก้าวขึ้นมาเป็นกุมชะตากรรมปากท้องของประชาชนแดนน้ำหอมทั้งประเทศแล้ว เขายังเป็นผู้ถือกุญแจไขอนาคตวิกฤตหนี้สาธารณะของภูมิภาคยุโรป อันเป็นงานด่วนเฉพาะหน้า ซึ่งทำให้เขามีช่วงฮันนีมูนที่แสนสั้น ขณะที่ตลาดทั่วโลกเฝ้ามองพัฒนาการในยูโรโซนด้วยความกังวลว่าผู้นำคนใหม่ของฝรั่งเศสจะจริงจังกับนโยบายต้านทานมาตรการรัดเข็มขัดมากน้อยเพียงใด
ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส และยังเป็นประธานาธิบดีจากพรรคโซเชียลลิสต์คนแรกของประเทศในรอบ 17 ปี
       ออลลองด์ ผู้นำพรรคโซเชียลลิสต์วัย 57 ปี ซึ่งไม่เคยมีตำแหน่งในคณะรัฐบาลระดับชาติมาก่อน แม้จะเป็นนักการเมืองที่เป็นที่รู้จักมานานกว่า 30 ปีแล้วก็ตาม เอาชนะ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีจากฝ่ายขวา ด้วยคะแนน 51.62% ต่อ 48.38% ในการเลือกตั้งรอบสองอันเป็นการสู้กันตัวต่อตัว โดยที่แคมเปญเลือกตั้งถูกครอบงำด้วยความไม่พอใจต่อวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่ทำให้ผู้นำในยุโรป 10 คนพ้นจากตำแหน่งมาแล้วนับตั้งแต่ปลายปี 2009 ส่วนซาร์โกซีก็แสดงความยินดีต่อประธานาธิบดีคนใหม่ พร้อมกับส่งสัญญาณว่าตัวเขาต้องการเลิกเล่นการเมืองอย่างน้อยก็ในแบบเบื้องหน้าเวที
      
       ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส และยังเป็นประธานาธิบดีจากพรรคโซเชียลลิสต์คนแรกในรอบ 17 ปีให้คำมั่นกับประชาชนผู้สนับสนุนว่า เขาจะขอเปิดการเจรจากับสมาชิกอียูทั้งหมดเพื่อรื้อแผนรัดเข็มขัด ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของประชาชน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของนโยบายสหภาพการคลัง อันเป็นแผนการที่ซาร์โกซีดำเนินการผลักดันมาโดยตลอด และเกือบทุกประเทศในภูมิภาคนี้ก็เดินหน้าปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซน อันเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต่างวิตกว่าจะฉุดเศรษฐกิจโลกให้ตกต่ำอีกครั้ง
      
       นอกจากนี้ เขาได้วางนโยบายตามแนวทางสังคมนิยม ไม่ว่าจะเป็นการชะลอแผนลดการใช้จ่ายของซาร์โกซี โดยจะแทนที่ด้วยการขึ้นภาษีคนรวย แต่ยังคงเป้าหมายเดิมในการฟื้นงบประมาณให้สมดุลภายในปี 2017 เพิ่มงบการศึกษา ขยายเกณฑ์อายุการปลดเกษียณเป็น 62 ปี และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตลอดจนเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐด้วยการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปแห่งนี้ด้วย โดยออลลองด์ได้ยอมรับต่อหน้าฝูงชนผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายซ้าย ที่เฉลิมฉลองให้กับชัยชนะของเขา ณ จัตุรัสปลาซ เดอ ลา บาสตีย์ ในกรุงปารีสว่า การดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของตนเองคงสั้นมาก
ผู้สนับสนุนพรรคโซเชียลลิสต์ฉลองชัยชนะในการเลือกตั้งของ ฟรังซัวส์ ออลลองด์ เต็มพื้นที่บริเวณจัตุรัสปลาซ เดอ ลา บาสตีย์ ในคืนวันอาทิตย์ (6) ที่ผ่านมา
       อย่างไรก็ตาม แผนการบางอย่างของออลลองด์ก็ทำให้นักลงทุนไม่สบายใจ เนื่องจากเกรงว่าฝรั่งเศสจะเปลี่ยนสถานะจากประเทศเจ้าหนี้สุทธิไปเป็นประเทศลูกหนี้สุทธิ โดยสะท้อนให้เห็นได้จากการร่วงลงตามกันของตลาดทั้งในเอเชีย และยุโรป รวมไปถึงค่าเงินยูโร และราคาน้ำมันในวันจันทร์ (7) ท่ามกลางความไม่แน่นอน ที่ก่อตัวขึ้นจากชัยชนะของออลลองด์ในฝรั่งเศส ตลอดจนความยุ่งเหยิงทางการเมืองของกรีซ เมื่อพรรคขวาสุดโต่ง โกลเด้น ดอว์น และพรรคซ้ายจัด เลฟต์ โคเอลิชัน กวาดเสียงข้างมากในรัฐสภาไปได้ เหล่านี้จะเป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินหน้าปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด
      
       ทั้งนี้ ออลลองด์จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 15 พฤษภาคม จากนั้นเขาจะเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลินทันที ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี ผู้เป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญในภูมิภาคยุโรป โดยจะเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งคาดว่าออลลองด์จะใช้โอกาสนี้ท้าทายนโยบายรัดเข็มขัดของเมืองเบียร์ และผลักดันแนวคิดใหม่ที่มุ่งกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้นำเยอรมนีเองยืนยันชัดเจนว่า เธอยังไม่มีความคิดที่จะฟื้นการเจรจานโยบายสหภาพการคลังดังกล่าว แต่พร้อมให้การต้อนรับเขาอย่างอบอุ่น และแสดงความมั่นใจว่า มิตรภาพฝรั่งเศส-เยอรมนีจะลึกซึ้งยิ่งขึ้น
      
       หลังการพบปะพูดคุยกับแมร์เคิลแล้ว ออลลองด์จะเดินทางต่อไปยังสหรัฐฯ เพื่อร่วมการประชุมจี8 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18-19 และการประชุมนาโต ในวันที่ 20-21นี้ โดยผู้อำนวยการการสื่อสารของเขายืนยันว่า ว่าที่ผู้นำฝรั่งเศสจะใช้การประชุมซัมมิตดังกล่าวเป็นสถานที่ประกาศการถอนทหาร 3,300 คนออกจากอัฟกานิสถานภายในสิ้นปลายปีนี้ ซึ่งเร็วกว่าแผนการเดิมถึง 1 ปี ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามาต้องเชิญเขาเข้าหารือที่ทำเนียบขาวก่อนกำหนดการนั้น ด้วยความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับแผนการดังกล่าวของออลลองด์
ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี และว่าที่ประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ร่วมพิธีรำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ สุสานทหารนิรนาม ที่ประตูชัยฝรั่งเศส อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม
       ขณะที่ ผู้นำยุโรปบางคนซึ่งเคยกังวลกับนโยบายของออลลองด์ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ว่าอาจจะกระทบต่อเสถียรภาพการเงินของภูมิภาค แต่หลังจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าผู้นำฝ่ายสังคมนิยมรายนี้ชนะการเลือกตั้ง หลายชาติจึงเริ่มออกมาสนับสนุนการเรียกร้อง “ข้อตกลงกระตุ้นการเติบโต” เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจที่หยุดนิ่งเดินหน้า และแก้ปัญหาการตกงาน โดยโฆเซ มานูเอล บาร์รอสโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป แสดงความเชื่อมั่นว่า ออลลองด์ยังจะผลักดันการรวมตัวของยุโรปต่อไป เนื่องจากทุกประเทศต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การฟื้นเศรษฐกิจยุโรป และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
      
       ด้าน นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเชื่อว่า ประธานาธิบดีคนใหม่จากฝ่ายสังคมนิยมของฝรั่งเศส ที่มีนโยบายต่อต้านทุนนิยมนั้น น่าจะเรียนรู้ถึงการปรับตัวตามสถานการณ์ เพื่อให้ฝรั่งเศส ตลอดจนสหภาพยุโรปทั้งหมดอยู่รอด ซึ่งนั่นคงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเมืองฝรั่งเศสมากนัก ทั้งยังระบุว่า ออลลองด์น่าจะเป็นผู้นำที่มีความระมัดระวัง และรอบคอบมากขึ้นกว่าผู้นำคนก่อนๆ