วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเมิดสิทธิมนุษยชนเด็ก และ เยาวชน

            
         
     
สวัสดีคะวันนี้น้องมดแดงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาสังคมอีกแง่หนึ่งซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของเด็กและเยาวชนของไทย สังเกตไหมคะว่าไม่ว่าเราจะไปเที่ยวที่ไหนก็จะเห็นเด็กขายของมากมายหลายประเภท เช่น ขายพวงมาลัย ขายดอกไม้ (ร้านหมูกระทะ ตามชายหาด) ซึ่งการกระทำเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเรามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เด็กๆเหล่านั้นต้องขาดสิทธิที่พึงจะได้ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การดูแลเอาใจใส่ ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับเยาวชนจะลดลงได้ถ้าสังคมให้ความเป็นธรรมและดูแลเอาใจใส่ ที่สำคัญที่สุดสถาบันครอบครัวน่าจะเป็นหัวใจที่สำคัญในการเอาใจใส่
              สถานการณ์การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในประเทศไทย 
การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในสังคมไทยมีปรากฏการณ์ในหลายรูปแบบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาหลายทศวรรษและยังคงดำรงสืบเนื่องในสังคมไทย และมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชนต่างๆ
ข้อมูลของกรมประชาสงเคราะห์ ปี 2545 พบว่าเด็กที่อยู่ในอายุ 114 ปี ประมาณ 6 ล้านคนอยู่ในครอบครัวที่ยากจน เด็กถูกทอดทิ้งมีจำนวนมากกว่าแสนคน เด็กกำพร้ามีจำนวนประมาณ 350,000 คน เด็กเร่ร่อน มีประมาณ 370,000 คน เด็กพิการทางกาย หรือทางจิตกว่า 400,000 คน เด็กชนเผ่าที่เป็นกลุ่มคนชายขอบกว่า 200,000 คนและ
จากรายงานของสถาบันสวัสดิการและพัฒนาเด็ก มูลนิธิเด็กให้ข้อมูลเรื่องภาวะยากลำบากที่เกิดกับเด็กบางประเภท ในปี 2545 ซึ่งเก็บรวบรวมจากการเก็บข้อมูลในจังหวัดพิษณุโลก น่าน เลย อุตรดิตถ์  และลำพูน จำนวน 6,417 คน จาก 68 โรงเรียน และวัด สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ( ซึ่งสภาพปัญหาที่เด็กเผชิญและประสบอยู่ สะท้อนการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของเด็กและเยาชนตามหลักกฎหมายสากลของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ) 
1.   เด็กถูกทอดทิ้งในประเทศไทยวันละ 8 คน โดยเฉพาะเด็กที่ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กที่ถูกทอดทิ้ง 3 ใน 5 คน จะถูกอดทิ้งหลังคลอด เด็กที่ถูกทอดทิ้ง จำนวน 4 ใน 5 คน จะถูกทอดทิ้งหลังคลอด แม่ตั้งครรภ์นอกสมรส และต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง  แม่ของเด็กถูกทอดทิ้ง 1 ใน 10 คน แยกทางกับสามี ถูกข่มขืน หรือตั้งครรภ์กับคนในครอบครัว เด็กที่ถูกทอดทิ้งมักจะมีพัฒนาการช้ากว่าวัย 
2.   เด็กและเยาวชนที่ถูกทารุณเป็นเหยื่อของความขัดแย้งของครอบครัวและสังคม เด็ก 1 ใน 4 คนถูกทุบตีในบ้าน เท่าที่พบเด็กถูกทารุณอายุน้อยที่สุด 24 วัน ผู้กระทำในครอบครัวจะเคยพบเห็นและยอมรับการกระทำทารุณว่า ตนเองจะตบตีภรรยาหากกระทำตัวไม่ดี ส่วนเด็กที่ถูกกระทำทางเพศมีแนวโน้มอายุน้อยลง และผู้กระทำก็มีอายุน้อยลงน้อย ยังมีการละเลยไม่ช่วยเหลือเด็กจากสังคมเมื่อพบเห็นเด็กที่ถูกกระทำทารุณ
3.   เด็กเร่ร่อน มีทั้งที่เร่ร่อนตามครอบครัวมาหางานทำในเมือง หรือเร่ร่อนตามลำพัง เฉพาะในเมืองใหญ่อาจมีถึงหมื่นคน  เป็นชายมากกว่าหญิง เด็กเร่ร่อนจำนวน 1 ใน 6 จะเร่ร่อนถาวรเป็นขอทาน  กินอยู่หลับนอนตามใต้สะพาน ตลาด วัด ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ  สาเหตุที่เร่ร่อนเพราะหนีออกจากบ้านเพื่อนชวนมาเที่ยว  พลัดหลง ขอทานหรือขายของตามสี่แยก ทั้งที่ทำงานด้วยตัวเองหรือเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่
                4. เด็กลูกกรรมกรมีจำนวนไม่แน่ชัด ส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษาเมื่อจบชั้นประถมไม่มีโอกาสให้เรียนต่อ เด็กที่ได้อยู่กับพ่อแม่ในบริเวณก่อสร้าง เมื่อโตพอ ช่วยตัวเองได้ มักถูกส่งไปอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างมักได้รับบาดเจ็บเนื่องจากตะปูตำ ไม้ตกใส่ ถูกเหล็กกับฆ้อนทุบมือ แก้วบาด และมักเรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่อายุ
ยังน้อย 
               5. เด็กในชุมชนแออัดในกรุงเทพ มีเกือบ 8 หมื่นคน มักมีปัญหาสุขภาพ ขาดสารอาหาร เป็นโรคผิวหนังสกปรก มอมแมม ทารก 7 ใน 10 คน ไม่ได้รับวัคซีนครบต
ามกำหนด
              6 .มีเด็กติดเอดส์จากแม่ในปัจจุบันประมาณ 6 หมื่นคน ทั้งยังจะต้องกำพร้าเนื่องจาก พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์อีกเป็น แสนคน คาดว่าถึงปี 2548 จะมีเด็กติดเชื้อเอดส์ประมาณ  แสนกว่าคน หรือประมาณปีละ 5-6 พันคน รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่นที่ติดเชื้อโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์  หรือใช้เข็มร่วมกันในการใช้ยาเสพติด
การละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเด็กและเยาวชน
การละเมิดสิทธิด้านเด็ก เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็ก และเยาวชนประเภทต่างๆ แตกต่างกันไปได้แก่
1 .  การถูกละเมิด และอันเนื่องจากเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ไม่ได้รับการคุ้มครอง ที่จะได้รับการดูแล  การรักษา  ฟื้นฟูที่พึงได้อย่างเหมาะสม  หมายถึงเด็ก ที่มีความแตกต่างจากเด็กปกติ ซึ่งยังไม่ได้รับการบริการรวมทั้งแก้ไขถึงบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ จากรัฐ  เช่น  การศึกษา สาธารณูปโภค  รวมทั้งไม่มีหลักประกันที่กลไก  และนโยบายต่างๆ และส่งผลในทางปฏิบัติจริง  เช่น เด็กพิการด้านต่าง ๆ เด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ เด็กปัญญาเลิศ เด็กกำพร้า เด็กที่บิดามารดาต้องโทษจำคุก เด็กยากจน ครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน เป็นต้น เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาดูจาการที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลโดยลำพังไม่สามารถดูแลเด็กเหล่านี้ให้สอดคล้องกับสภาพของเด็กได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรเอกชน
2.    การละเมิด ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  จากการถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยง คือ เด็กที่มีสภาพแวดล้อมทางสังคมไม่ว่าที่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่มีความเสี่ยงจะถูกกระทำทารุณกรรม ถูกปล่อยละเลย หรือถูกทอดทิ้งในรูปแบบต่างๆซึ่งอาจจะได้รับอันตรายต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านครอบครัว และอาจมีปัญหาพฤติกรรม
3. เด็กถูกละเมิดจากการถูกกระทำ คือ เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยหรือถูกทอดทิ้ง ให้ตกอยู่ในภาวะอันตรายรวมทั้งถูกทำร้ายทุบตี ทารุณ ถูกทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ หรือถูกล่วงเกินทางเพศจากบุคคลในสังคมแวดล้อมหรือแม้แต่บุคคลภายนอกนอกจากนี้ปัญหาการกระทำทารุณต่อแรงงานเด็ก อาจออกมาในรูปแบบการถูกใช้แรงงานหนัก เด็กถูกนายจ้างทุบตี  ทำร้าย  และข่มขืน  เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมาตั้งแต่แรกแล้ว
4 .  สิทธิอันพึงเข้าถึงและได้รับการบริการต่างๆ  ฟื้นฟู  และบำบัด เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม คือ เด็กที่มีพฤติกรรมผิดแผกแตกต่างไปจากเด็กปกติในวัยเดียวกันและมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน ต่อต้าน กฎเกณฑ์ของสังคม ต่อต้านระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติของสถาบันทางสังคมที่เด็กสังกัดอยู่ เช่น ครอบครัว โรงเรียน หรือ แม้แต่ชุมชน เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสียงมาตั้งแต่แรก
5 .   การคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมต่อเด็กกระทำความผิด คือ เด็กที่กระทำความผิดทางอาญาและเป็นเด็กที่อาจมีปัญหาพฤติกรรมถูกปล่อยปละละเลยและอาจถูกทารุณกรรมมาก่อน ทั้งนี้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมาตั้งแต่แรกเช่นเดียวกัน
           สำหรับบทบาทและการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็กมีดังนี้ เช่นการพัฒนาทั้งการคุ้มครอง ป้องกัน การแก้ไขปัญหาทั้งโดยมุ่งเน้นการพัฒนาต่อเด็กเอง ควบคู่ไปกับการพัฒนครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมตลอดจนกระทั่งการรณรงค์ เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการละเมิดสิทธิเด็ก อีกทั้งดำเนินการโดยใช้มาตรการทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรม 
       
             จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดได้จากหลายสาเหตุและการถูกละเมิดก็มีหลายด้านที่ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆเหล่านั้นขาดอิสระและสิทธิต่างๆที่ควรจะได้รับ ถ้ามองว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร น้องมดแดงคิดว่าสถาบันครอบครัวสำคัญที่สุด ซึ่งควรพร้อมก่อนมีลูก และต้องดูแลเอาใจใส่ลูกเสมอ ซึ่งน้องมดแดงขอยกตัวอย่าง เกี่ยวเด็กมาขายดอกไม้สังเกตไหมคะว่าหน้าตาค่อนข้างจะอินเดียหน่อย ซึ่งน้องมดแดงก็รู้สึกว่าสงสารและเห็นใจแต่เราช่วยแล้วไม่รู้ว่าเด็กเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากการขายอย่างไร ถ้าขายไม่ได้วันนี้จะถูกทำร้ายร่างกายหรือเปล่าแต่ที่สำคัญน้องมดแดงคิดว่าจิตใจของเด็กเหล่านั้นคงมีแต่ความทุกข์ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ  ไม่ได้วิ่งเล่น  ยิ่งเป็นเด็กผู้หญิงก้ยิ่งเป็นอันตราย บางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าพ่อแม่เขาอยู่ไหน และหันมามองตัวเองก้รู้ว่าเราโชคดีกว่าเด็กพวกนั้นขนาดไหนที่มีบ้านครอบครัว มีการกินอยู่ที่ดี มีโอกาสเรียน แล้วเด็กพวกนั้นอายุแค่นี้ แล้วอนาคตของพวกเขาจะเป็นอย่างไร น้องมดแดงอยากให้ทุกหน่วยงานให้ความสนใจกับปัญหาเหล่านี้ให้มากเพราะเด็กๆคือเยาวชนของชาติ และครอบครัวคือสถาบันที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น