วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เสียงในภาษาไทย


เสียงในภาษาคือเสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาใช้สื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
........... เสียงในภาษาที่แท้จริงของมนุษย์คือเสียงพูด
............เสียงในภาษาแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด

................................๑. เสียงสระ
................... ๒. เสียงพยัญชนะ
................... ๓. เสียงวรรณยุกต์
........... .....๑. เสียงสระ(เสียงแท้)หมายถึงเสียงเกิดขึ้นได้เพราะเราทำให้ลมออกจากปอดผ่านหลอดลมและกล่องเสียงที่ลำคอออกมาพ้น
............ช่องปากหรือช่องจมูกโดยไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่หนึ่งที่ใดในช่องทางเดินของลมเลย ในขณะที่เราอออกเสียงสระ สายเสียงที่อยู่ใน
............กล่องเสียงจะปิดเปิดอย่างรวดเร็ว สายเสียงจึงมีความสั่นสะเทือน บังเกิดความกังวานหรือความก้อง และออกเสียงได้ยาวนาน
........... เช่น อา อี อัว ฯลฯ
.................๒. เสียงพยัญชนะ(เสียงแปร)หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นได้เพราะเราทำให้ลมออกจากปอด แต่ขณะที่ลมผ่านหลอดลมหรือออกมา
........... ทางช่องเดินทางของลม ลมจะถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งตั้งแต่ในลำคอ ในช่องปาก หรือในช่องจมูก และลมจะถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมด
............หรือถูกสกัดกั้นเป็นบางส่วน แล้วจึงผ่านออกมาภายนอก ทำให้เกิดเสียงพยัญชนะต่างๆกันขึ้น เสียงชนิดนี้ได้แก่เสียงที่อยู่ต้นพยางค์
........... เช่น กะ ขาว โค งู ชาง ซู่
.................๓. เสียงวรรณยุกต์(เสียงดนตรี)หมายถึงเสียงที่มีระดับสูงต่ำ และเราได้ยินพร้อมกันไปกับเสียงสระ
........... บางทีก็เป็นเสียงสูงบางทีก็เป็นเสียงต่ำ บางทีก็เป็นเสียงที่อยู่ระหว่างเสียงสูงกับเสียงต่ำ บางทีก็เป็นเสียงต่ำ
........... แล้วค่อยๆเลื่อนขึ้นไปสู่เสียงสูง
..................เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยนับว่ามีความสำคัญเพราะจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงไปได้
........... เช่น เสือ เสื่อ เสื้อแต่เสียงที่มีระดับสูงต่ำในบางภาษาไม่ได้ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงไปได้

....................................ภาพอวัยวะต่างๆที่ใช้ในการออกเสียง 
                                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น